แนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ภายในสถานศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก
Learning Ecosystem Guideline in School for Active Learning
Keywords:
ระบบนิเวศการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงรุก, ทักษะในศตวรรษที่ 21, Learning Ecosystem, Active Learning, 21st Century SkillAbstract
ระบบนิเวศการเรียนรู้ เป็นการจัดระบบที่เกื้อหนุนให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้รองรับการเรียนรู้เชิงรุก ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพและมีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อหาแนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ในสถานศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบ จากนั้นจัดทำคู่มือการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนนำคู่มือไปถ่ายทอดให้โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี และเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากการใช้คู่มือโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า การจัดระบบนิเวศการเรียนรู้มีหัวใจสำคัญ คือการทำงานร่วมกัน การพัฒนาร่วมกัน การตั้งเป้าหมายร่วมกัน ทั้งผู้บริหารโรงเรียน คุณครู และผู้เรียน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีการเสนอแนวคิดในการพัฒนาทั้งในด้านการออกแบบการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรม ที่ส่งผลดีต่อผู้เรียน และเมื่อถอดบทเรียนการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ และออกแบบตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างคู่มือการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน และถ่ายทอดให้กับโรงเรียน จากการประเมินความพึงพอใจของการใช้คู่มือนั้น ด้านความถูกต้องและชัดเจนของเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความสอดคล้องของการออกแบบกิจกรรมกับตัวชี้วัดตามหลักสูตรระดับมาก การนำคู่มือไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้ แสดงให้เห็นว่าเนื้อหา และความสอดคล้องของกิจกรรมต่างๆที่ออกแบบในคู่มือการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้มีความเหมาะสมสำหรับโรงเรียน จากงานวิจัยนี้จึงสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้และยังสอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม สนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต A learning ecosystem is a systematic arrangement that supports learners to develop themselves to their full potential and has got 21st-century skills. This research aimed to establish learning ecosystem guidelines in schools for active learning. An interview form was used for collecting data on the learning ecosystem management of the model school, and then prepared a learning ecosystem manual, and transferred to the school that being affiliated with Pathum Thani primary educational service area office; satisfaction with the manual was collected by using a questionnaire. The results showed that the importance of organizing a learning ecosystem is working together, collaborating, developing, and obtaining goals with school administrators, teachers, and learners, as well as providing everyone with the opportunity to propose development ideas in terms of learning design and learning activity design which benefit learners. After reflecting on the learning ecosystem management and examples of learning activities, it was led to establish a learning ecosystem guide and transfer it to the schools. The satisfaction rating of the manual was at the highest level. The accuracy, clarity of the content, and consistency of the activity design with the curriculum indicators were rated at the highest level. Using the manual in school learning activities has shown that the content and consistency of the activities designed in the learning ecosystem guide are appropriate for the school. This research can be a guideline for developing the learning ecosystem in schools to increase potential development and response to sustainable development goal 4, in order to ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all.References
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ วุฒิชัย เนียมเทศ และ ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รายงานการวิจัย แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สภาพการจัดนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เอส.บี.เค การพิมพ์.
Trilling B., and Fadel C. (2009). 21st Century skills: Learning for life in our times. U.S.A.: Jossey-Bass A Wiley Imprint.
Fayombo GA. (2012). Active learning strategies and student learning outcomes among some university students in Barbados. Journal of Educational and Social Research, 2(9), 79-90.
Hannon V., Patton A., & Temperley J. (2011). Developing an Innovation Ecosystem for Education. Cisco, Innovation Unit.
United Nations Development Programme [UNDP]. (2019). Human Development Report 2019 Beyond income, beyond averages, beyond today: Inequalities in human development in the 21st century. NY, USA.