ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยง ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

The Effects of Experiential Learning with the SSCS Problem Solving Model on Mathematical Problem Solving and Connection Abilities of Mathayomsuksa 5 Students

Authors

  • ธารใจ กุมภาพันธ์
  • คงรัฐ นวลแปง
  • เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร

Keywords:

การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์, SSCS, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์, Experiential Learning, Mathematical Problem Solving, Mathematical Connection

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purposes of this research were 1) to compare the mathematical problem solving ability of Mathayomsuksa 5 students who participated in experiential learning with the SSCS model as compared with the 70 percent criterion and 2) to compare the mathematical connection ability of Mathayomsuksa 5 students who participated in the experiential learning with the SSCS model as compared with the 70 percent criterion. The sample group used in this research consists of 41 students from Mathayomsuksa 5/3 in the second semester of the 2021 academic year, selected through cluster random sampling. The research instruments used in this research consisted of 1) six lesson plans based on experiential learning with the SSCS model and 2) a mathematical problem-solving ability and mathematical connection ability test with a reliability of 0.79). The statistical analysis used included mean, standard deviation, and one-sample t-test. The results indicated that 1) students' mathematical problem solving ability after using the experiential learning with the SSCS model was significantly higher than the 70% criterion at a significance level of .05, and 2) their mathematical connection ability was also significantly higher than the 70% criterion at a significance level of .05.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่ม สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จตุพร ผ่องลุนหิต. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซนด์แอนปริ้นติ้ง.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาศรี สิงคเสลิต. (2561). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละโดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค Team – Pair – Solo (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2537). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. คณิตศาสตร์, 38 (พฤศจิกายน-ธันวาคม), 32-74.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2556). ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรปภัสสร ปริญชาญกุล. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรณัน ขุนศรี. (2552). การสอนภาษาไทยเด็ก. วิชาการ, 12(3), 60-75.

วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2561). MESUK Model (มีสุข โมเดล) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วิชาการ, 21, 38-49.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์ : หลักสูตร การสอน และการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อมรรัตน์ ฤทธิไทยสงค์ และ มัสยา โซ๊ะศิริ. (2563). คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียน โพธิสัมพันธ์พิทยาคาร. (7 กุมภาพันธ์) สัมภาษณ์.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chiappetta, E. L. & Russell, J. M. (1982). The relationship among logical thinking, problem solving instruction, and knowledge and application on earth science subject matter. Science Education, 66(1), 85-93.

Kolb, A. D., Rubin, M. I., & Osland, J. (1991). Organizational behavior: An experiential approach. U.S.A: Prentice-Hall.

Pizzini, E. L., Shepardson, & Abell, S. K. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education. Science Education, 73(5), 523-534.

Downloads

Published

2023-04-12