ผลของการใช้กิจกรรมเพื่อพัฒนาวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ

The Effect of Using Activities to Develop Students’ Self-discipline, Faculty of Education, Thailand National Sports University, Chaiyaphum Campus

Authors

  • สุนันทา สุพรรณ
  • อัมพวัน นาคเขียว
  • ยานี จรคงสี
  • สุมน เกลาฉีด

Keywords:

กิจกรรม, วินัยในตนเอง, นักศึกษา, Activities, Self-discipline, Students

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ ระหว่างก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเพื่อความมีวินัยในตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความมีวินัยในตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบโดยใช้สถิติ t-test dependent ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ความมีวินัยในตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการใช้กิจกรรม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตามกฎของมหาวิทยาลัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเชื่อมั่นในตนเองและด้านความเป็นผู้นำ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความมีวินัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย อยู่ในระดับมาก และความมีวินัยในตนเองของกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน 2) ระดับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  The purposes of this research were to 1) examine the self-discipline of the students of the Faculty of Education, Thailand National Sports University, Chaiyaphum Campus, and 2) compare the self-discipline of students in the Faculty of Education, National Sports University, Chaiyaphum Campus participating in self-discipline activities. The sample of the study was purposively selected and consisted of 30 students of the Faculty of Education, who enrolled in the academic year 2019 and were working in the student club of the Faculty of Education. The instrument employed in the study was a self-discipline questionnaire. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. Findings revealed that: 1) self-discipline of the sample before using the activity when considering each aspect, it was found that the aspects of university compliance, responsibility, self-confidence, and leadership were at the highest level. Regarding the discipline in participating in university activities and physical health care, these two aspects were at a high level. However, after using the activities, the self-discipline of the participants was at the highest level in all aspects. 2) The level of students’ self-discipline after participating in the activities was significantly higher than before participating in the activities at a significance level of .01.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (สาขาพลศึกษา) หลักสูตรปรับปรุง 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สมพงษ์ บุญญา และมานพ แจ่มกระจ่าง. (2554). ผลของการใช้กิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยใน ตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยและเทคโนโลยี โครงการเกษตรเพื่อชีวิต. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 83-85.

อมรรัตน์ พนัสนาชี. (2557). การศึกษาวินัยในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดระนอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Kohlberg, L. (1976). Moral stages and moralization: The cognitive-development approach. In T. Lickona (Ed.), Moral development and behavior: theory and research and social issues (pp. 31-53). New York, NY: Holt, Rienhart, and Winston.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2023-07-13