ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต
The Need Assessment for Developing Assumption College Sriracha Teachers Based On the Concept of the Montfortian Education Charter
Keywords:
การจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต, ความต้องการจำเป็น, การพัฒนาครู, โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา, Montfort Education Charter, Needs assessment, Teacher development, Assumption College SrirachaAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต ผู้ให้ข้อมูลการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.70, SD = 0.81) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผู้ร่วมงานและการมีเครือข่าย (ค่าเฉลี่ย = 4.30, SD = 0.60) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ และความคิดริเริ่ม (ค่าเฉลี่ย= 3.20 , SD = 1.08) และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.49, SD = 0.57) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก (ค่าเฉลี่ย = 4.60, SD = 0.52) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ฝ่ายจิต (ค่าเฉลี่ย = 4.25 , SD = 0.64) และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (PNIModified = 0.21) องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ และความคิดริเริ่ม (PNIModified = 0.40) รองลงมา คือ ด้านการจัดการศึกษาเชิงอ้าแขนรับ (PNIModified = 0.30) ด้านผลประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก (PNIModified = 0.30) ด้านแสวงหาความเป็นเลิศ (PNIModified = 0.30) ตามลำดับ This descriptive study aimed to assess the development needs of teachers at Assumption Sriracha College based on the principles of the Montfort Education Charter. The study population consisted of a total of 141 individuals, including school directors and teachers. Data was collected using a 5-point rating scale questionnaire, and the quality of the questionnaire was assessed for validity through the Item-Objective Congruence (IOC) method. Data analysis employed mean scores, standard deviations, and the Modified Priority Need Index (PNIModified). The research findings indicate that the current state of teacher development at Assumption Sriracha College, based on the principles of the Montfort Education Charter, is generally at a high level (average = 3.70, SD = 0.81). When considering each aspect, the highest-rated aspect was 'Partnership and Networking' (average = 4.30, SD = 0.60), while the lowest-rated aspect was 'Innovation and Creativity' (average = 3.20, SD = 1.08). The desirable conditions for developing Assumption Sriracha College Teachers Development based on the concept of Montfort Education Charter, in overall, was at the highest level (average = 4.49, SD = 0.57), Among specific aspects, "The Best Interests of the Child" received the highest average rating (average = 4.60, SD = 0.52), while "A Spiritual Vision" received the lowest average rating (average = 4.25, SD = 0.64). The overall Priority Need Index was calculated as 0.21 (PNIModified = 0.21). When examining individual items within the Montfort Education Charter, the highest priority need was identified in the 'Innovation and Creativity' category (PNIModified = 0.40), followed by 'Inclusive Education' (PNIModified = 0.30), ‘The Best Interests of the Child’ (PNIModified = 0.30), and ‘Quest for Excellence’ (PNIModified = 0.30).References
คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ปีการศึกษา 2565-2570. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. สืบค้นจาก https://www.acs.ac.th/PDF/QA_PDF/01_QA/02_QA_2565-2570.pdf
งานมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ฝ่ายการศึกษามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (2555). มาตรฐานการศึกษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4. นนทบุรี: Pim Pim Printing.
ชวนคิด มะเสนะ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(1), 9-16.
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เตือนตา สุพรรณทอง. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สหวิทยาเขตนนทบุรี 2 (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นารีรัตน์ ยิ่งยวด. (2556). การนำเสนอวิธีการการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
พงษ์พัฒน์ คาโสจันทร์. (2563). แนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล. (2010). ทิศทางการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต : Montfortian Education Charter. กรุงเทพฯ: กรีน ไลฟ์.
มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (2559). แผนยุทธศาสตร์มูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ระยะ 6 ปี(พ.ศ.2559-2564). กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.
วรัฎฐา จงปัตนา. (2561). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนอนุบาลทรัพย์ปัญญาตามแนวคิดภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2531). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dessler, G. (2015). A Framework for Human Resource Management (6th ed). Indochina: Pearson Education Indochina. Retrieved from https://monizaharie.files.wordpress.com/2017/11/dessler-human-resourcemanagement-2015.pdf
Harerimana, J. P. (2019). Equity Vs Equality: Facilitating Equity in the Classroom. International Journal of Research and Scientific Innovation (IJRSI), 6(11), 216 - 219.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Nadler, L. (1980). Corporate Human Resources Development. New York: American for Training and Development.
Wexley. K. N., & Latham, G. P. (1991). Developing and Training Human Resources in Organization (2nd ed.). New York: Harper Collins.