การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

An Evaluation of the Master of Education Program in Early Childhood Education (New Curriculum, 2018CE), Faculty of Education, Burapha University

Authors

  • ศิรประภา พฤทธิกุล
  • เชวง ซ้อนบุญ
  • สุกัลยา สุเฌอ

Keywords:

การประเมินหลักสูตร, การศึกษามหาบัณฑิต, การศึกษาปฐมวัย, Curriculum Evaluation, Master’s Degree, Early Childhood Education

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิต รวมจำนวน 37 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในภาพรวม (µ= 4.92, = 0.29) และรายด้าน โดยด้านกระบวนการมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (µ= 4.94, = 0.24) รองลงมาเป็นด้านผลผลิต (µ = 4.93, = 0.27) ด้านบริบท (µ = 4.93, = 0.26) และด้านปัจจัยนำเข้า (µ= 4.82, = 0.42) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผู้ให้ข้อมูล มีดังนี้ (1) ด้านบริบท ควรเพิ่มทางเลือกแผนการเรียนที่ทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) ด้านปัจจัยนำเข้า ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย (3) ด้านกระบวนการ ควรเพิ่มกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับการศึกษาดูงาน และ (4) ด้านผลผลิต ควรเพิ่มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ สมรรถนะที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรมที่สนองตอบบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  The purpose of this study was to evaluate the Master of Education program in Early Childhood Education (New Curriculum, 2018 CE) offered by the Faculty of Education at Burapha University using the CIPP evaluation model. In this study, 37 research participants including experts, support staff, lecturers, alumni, current students, and employers, were involved. Data were collected through a questionnaire and a focus group discussion guide. Data were analyzed using percentage (%); mean (); standard deviation (); and content analysis. The results indicated that the program was appropriate at the highest level overall (µ= 4.92, = 0.29) and in all aspects. The average of the process received the highest score (µ= 4.94, = 0.24) followed by those of the output (µ = 4.93, = 0.27), the context (µ = 4.93, = 0.26), and the input (µ= 4.82, = 0.42) respectively. The stakeholders’ suggestions included: (1) Context: Adding an alternative plan for individual study or thesis to meet the needs of stakeholders; (2) Input: Creating a database system of the target group; (3) Process: Including more extracurricular activities such as academic field trips in the program; and (4) Output: Incorporating expected learning outcomes, encompassing competencies and innovative skills for responding to a changing world, multicultural context of the Eastern Economic Corridor (EEC).

References

ชินวัฒน์ ไข่เกตุ และคณะ. (2564). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 56-78.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 125 ง, 31 สิงหาคม 2552 (หน้า 17-19).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง, 13 พฤศจิกายน 2558 (หน้า 12-24).

ชินวัฒน์ ไข่เกตุ และคณะ. (2564). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 56-78.

มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.

มารุต พัฒผล. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1). 1-16.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2565). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้น.

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2564). มุมมองใหม่เรียนรู้วิจัยอย่างมีความสุข. วารสารวิทยวิชาการ, 4(1), 223-232.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561) แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2564). 8 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4673/

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง, 1 พฤศจิกายน 2565 (หน้า 1-18).

อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3). 1643-1658.

Aldridge, J., Calhoun, C. & Aman, R. (2000). 15 Misconceptions about multicultural education. Focus on Elementary, 12(3), 1-6.

Bailey R. (2010). The philosophy of education: An introduction. London: Bloomsbury.

Bloom, Benjamin S. (1956). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive. New York: David Mackey Company.

Oliva, P. F., & Gordon II, W. R. (2013). Developing the curriculum (8th ed.). Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.

Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum foundations, Principles and issues (7th ed.). New Jersey: Englewood Cliffs.

Shechtman, N., et al. (2016). Empowering adults to thrive at work: Personal success skills for 21st century jobs: A report on promising research and practice. Chicago, IL: Joyce Foundation.

Stufflebeam, D.L., et al. (2008). The CIPP model for evaluation. In faculty education, Naresuan University. International Seminar on New Directions in Educational Research, Measurement and Evaluation: The 16th Thailand Education Research, Measurement and Evaluation Get-together, 17-18 January, 2008. (pp.9-23). Phitsanulok: Naresuan University.

Stufflebeam, D. L., & Coryn, L.S.. (2014). Evaluation theory, models, and applications (2nd ed.). USA: Jossey– Bass A wiley imprint.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, & application. San Francisco: John Wilwy.

Downloads

Published

2024-01-05