การใช้กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ร่วมกับกระบวนการ PGRADE เพื่อพัฒนาทักษะความพร้อมก่อนการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล จังหวัดเชียงราย

Using Cooperative Learning Group Activities, Learning Together Techniques Combined with the PGRADE Process to Develop Prevocational Skills for Students with Intellectual Disabilities at Chiang Rai Panyanukun School

Authors

  • วนัสวี ไชยวงค์
  • ลำไย สีหามาตย์

Keywords:

การเรียนรู้แบบร่วมมือ, บกพร่องทางสติปัญญา, ทักษะความพร้อมก่อนการประกอบอาชีพ, ทักษะการสื่อสาร, ทักษะการทำงานเป็นทีม, Cooperative Learning, Intellectual Disability, Prevocational Skills, Communication Skills, Teamwork Skills

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกับกระบวนการ PGRADE  2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกับกระบวนการ PGRADE และ 3) เปรียบเทียบคะแนนทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานเป็นทีมก่อน-หลังการใช้กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกับกระบวนการ PGRADE เพื่อพัฒนาทักษะความพร้อมก่อนการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานเป็นทีม แบบบันทึกผลทักษะความพร้อมด้านอาชีพ ตามกระบวนการ PGRADE กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแผนการสอนเฉพาะบุคคล เป็นการศึกษารายกรณี รูปแบบ ABA Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกับกระบวนการ PGRADE มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นการจัดการเรียนรู้ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ และขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่มมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) ผลคะแนนทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานเป็นทีมสูงขึ้นต่อเนื่องในแต่ละกิจกรรม และ 3) ผลคะแนนทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานเป็นทีม หลังการทำกิจกรรมกลุ่มสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ The objectives of this research were: 1) to develop cooperative learning group activities by combining learning together techniques with the PGRADE process; 2) to examine the effects of using these cooperative learning group activities; and 3) to compare scores of communication skills and teamwork skills before and after using the cooperative learning group activities in developing prevocational skills for students with intellectual disabilities. The target group consisted of four high school students with intellectual disabilities selected through purposive sampling. Research tools included an assessment of communication skills and teamwork skills, a vocational readiness skills recording form based on the PGRADE process, cooperative learning group activities, and an individual implementation plan (IIP). The research design employed a case study using the ABA design, and data were analyzed using means, percentages, and standard deviations. The study yielded the following results:1) the cooperative learning group activities, incorporating learning together techniques combined with the PGRADE process across five stages (preparation, presentation, group activity implementation, performance evaluation, and lesson summary and group performance assessment), were found to be highly suitable. 2) Communication and teamwork scores demonstrated continuous improvement in each activity. 3) Post-activity scores for communication skills and teamwork skills were higher compared to the pre-activity scores when using cooperative learning group activities with learning together techniques combined with the PGRADE process.

References

จิรนันท์ กริฟฟิทส์. (2550). ทฤษฎี กรอบอ้างอิง และกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด. เชียงใหม่: พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์.

ชมรมครูกิจกรรมบำบัด. (2558). มาตรฐานการปฏิบัติงานกิจกรรมบำบัดในสถานศึกษา. สืบค้นจาก https://anyflip.com/ugfmx/snmi/.

ชโลทร โชติกีรติเวช. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ Soft skills เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 25 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ความบกพร่องทางสติปัญญา. สืบค้นจาก https://www.happyhomeclinic.com/sp05-intellectual-disability.html.

พุมพนิต คงแสง. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาทักษะการเข้าสังคมของเด็กออทิสติกเรียนร่วม โรงเรียนบ้านลิมุด จังหวัดยะลา. (รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา). สืบค้นจาก http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5055.

ฤทธิไกร ไชยงาม. (2562). มาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท (Likert rating scales). สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/659229.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Soft skill to Master. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). ชุดเอกสารศึกษาด้วยตนเองวิชาการศึกษาพิเศษ เล่มที่ 9 การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). คู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.lampangsec.go.th/images/pdf/file_vichakan/manual61.pdf.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). ยุทธศาสตร์และจุดเน้น. สืบค้นจาก http://special.obec.go.th/article4.php.

สุทธิรัตน์ เพชรทิม. (2552). การศึกษาความสามารถในการพูดของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลาง โดยใช้กิจกรรมเพลง (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research). วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.

Baum, C. M., Christiansen, C. H. and Bass, J. D. (2015). Occupational therapy: Performance, participation, and well-being: The Person-Environment-Occupation- Performance (PEOP) model. Retrieved from https://ottheory.com/therapy-model/person-environment-occupation-performance-model-peop.

Clark, K. A., Test, D. W. and Konrad, M. (2019). Teaching Soft Skills to Students with Disabilities with UPGRADE Your Performance. Education and Training in Autism and Developmental Disabilities, 54(1), 41-56. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/332565432_Teaching_Soft_Skills_to_Students_with_Disabilities_with_UPGRADE_Your_Performance.

McGee, K. (2019). Vocational Skills for Special Education. Retrieved from https://www.theclassroom.com/vocational-skills-special-education-8173206.html.

Roger T. and David W. Johnson. (2009). An overview of cooperative learning. Retrieved from http://www.co-operation.org/what-is-cooperative-learning.

Slavin, R.E. (2011). Instruction Based on Cooperative Learning. Handbook of Research on Learning and Instruction. Retrieved from https://www.taylorfrancis.com/chapters/edit/10.4324/9780203839089-26/instruction-based-cooperative-learning-robert-slavin.

Downloads

Published

2024-01-05