ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเอสคิวอาร์คิวซีคิว ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

The Effects of Using Brain-Based Learning with SQRQCQ Technique on Mathematical Problem-Solving Ability and Learning Achievement of Grade 5 Students

Authors

  • จุฑาทิพย์ แก้วอำรัตน์
  • พรรณทิพา ตันตินัย
  • ผลาดร สุวรรณโพธิ์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, เทคนิคเอสคิวอาร์คิวซีคิว, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, Brain-Based Learning, SQRQCQ Technique, Mathematical Problem Solving, Mathematical Learning Achievement

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเอสคิวอาร์คิวซีคิว กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนา) จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเอสคิวอาร์คิวซีคิว เรื่อง ร้อยละ จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (t–test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ร้อยละ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเอสคิวอาร์คิวซีคิว สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ร้อยละ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเอสคิวอาร์คิวซีคิว สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purpose of the research was to compare problem-solving ability and mathematics learning achievement in the topic of percentage after receiving brain-based learning with SQRQCQ techniques with 70% criteria. The sample group consisted of 35 grade 5/1 students in the second semester, the academic year 2020 of Surat Thani Provincial Administrative Organization School 3 (Ban Na), selected from cluster sampling. The research tools included: 1) nine brain-based learning management plans with SQRQCQ technique for the topic of percent, 2) a mathematical solving-problems test on percentage with a confidence level of .94, and 3) a mathematics learning achievement test focused on percentage with a confidence level of .82. Data analysis employed arithmetic mean, standard deviation (S), and a one-sample t-test. The result indicated that: 1) students' ability to solve mathematical problems related to percentages improved after receiving brain-based learning management with SQRQCQ technique, surpassing the criteria of 70 percent with statistically significant at the .05 level. 2) The students' learning achievement in mathematics on percentage after receiving the brain-based learning management with the SQRQCQ technique was higher than the criteria of 70% with statistical significance at the .05 level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกวิทย์ ประวาลพฤกษ์. (2549). รูปแบบการสอนคิด ค่านิยม จริยธรรม และทักษะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2537). การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. ประมวลสาระชุดวิชารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาคณิตศาสตร์ หน่วยที่ 12-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปานใจ ไชยวรศิลป์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี SQRQCQ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่ายาง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุภากร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอน และการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิรินันทน์ ว่องโชติกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับประถมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2563.pdf

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2564. pdf

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2565.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมเดช บุญประจักษ์. (2540). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองสำหรับเด็กวัย 7-12 ปี. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดธนาพริ้นติ้ง.

สิรภพ สินธุประเสริฐ. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสคิวอาร์คิวซีคิวร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สิริพร ทิพย์คง. (2544). หนังสือเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุนัชชา ศุภธรรมวิทย์. (2556). การพัฒนารูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนด้วยแท็บเล็ตตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อัครภูมิ จารุภากร และพรพิไล เลิศวิชา. (2551). สมอง เรียน รู้. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Duman, B. (2010). The effects of brain-based learning on the academic achievement of students with different learning styles. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ EJ919873.pdf

Fay, L. (1965). Reading study skills: Math and science. In J. Figural (Ed.), Reading and inquiry: Proceedings of the International Reading Association Conference, Vol. 10. Newark, DE: International Reading Association.

Heidema, C. (2009). Reading and writing to learn mathematics: strategies to improve problem solving. Retrieved from https://adurhamblog.files.wordpress.com/2014/12/math-reading-and-writing-strategies-1.pdf

Jensen, E. (2000). Brain-based learning. San Diego, CA: The Brain Store.

Lester, H. and Head, M. H. (1999). Literacy & learning: the content areas. New York: Allyn and Bacon.

Strichart, S. and Mangrum, C.T. (1993). Teaching study strategies to students with learning disabilities. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

Published

2024-01-05