การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Operation of Educational Quality Assurance of Schools Under the Primary Educational Service Area Office
Keywords:
การประกันคุณภาพการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, Educational quality assurance, Primary Educational Service Area OfficeAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการดำเนินงาน การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำแนกตาม ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 400 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1973) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของ Likert (1967) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการกำหนดมาตรฐาน และด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ส่วนอีก 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ไม่แตกต่างกัน The objectives of the research were: 1) to investigate the overall level of the operation of educational quality assurance of schools under the Primary Educational Service Area office, and 2) to compare the level of the operation of educational quality assurance of schools under the Primary Educational Service Area office classified by teacher working experience and school size. The sample in the study consisted of 400 teachers under the Primary Educational Service Area office, selected from multi-stage random sampling. The sample size was calculated by Taro Yamane’s formula (Yamane, 1973). The research instrument was a 5-point Likert scale questionnaire (Likert, 1987). Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Independent Simple t-test. The findings from the study revealed that: 1) the overall operation of the educational quality assurance system of schools under the Primary Education Service Area office was at a high level, and 2) the comparison of the level of the operation of educational quality assurance of schools classified by working experience and school size did not show any difference in the level of operation of educational quality assurance in schools under the Primary Educational Service Area office.References
กมลทิพย์ ไชยวุฒิ. (2561). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ราชกิจจานุเบกษากฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (ข) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561.
จำนงค์ จั่นวิจิตร. (2559). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วม ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
นุชกานดา พิมโคตร. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อระบบการประกันคุณภาพสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตกันทรารมณ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1667.ru
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
ลดาวัลย์ ตั้งมั่น. (2561). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
วันทนา เนื้อน้อย. (2560). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
สถาพร ไตรพิษ. (2559). ความคิดเห็นของครูที มีต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนศูนย์อำนวยการเครือข่ายภูผายล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
สราวุฒิ คณะขาม. (2560). การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/catalog/ view/3121
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/ emis/index.php.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระกับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อรสา โกศลานันทกุล. (2549). เอกสรประกอบการสอนวิชาวิทยาการวิจัย (Research Methodology). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.
Likert, R. (1967). Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row.