แรงจูงใจในการเลือกเล่นกรีฑาของนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี

Student Motivation for Choosing Athletics at a Demonstration School in Chonburi Province

Authors

  • มุรธา นามพลกรัง

Keywords:

แรงจูงใจ, กรีฑา, นักเรียน, Motivation, Athletic, Student

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเลือกเล่นกรีฑาของนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษารวม 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การเขียนแผนที่ความคิด และการบรรยายเหตุการณ์สำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยวิธีการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล ตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลโดยวิธีสามเส้า ผลการศึกษาแบ่งได้ 2 หัวข้อ โดยหัวข้อแรกคือ แรงจูงใจภายในในการเลือกเล่นกรีฑาของนักเรียน ประกอบด้วย 1.1) ชื่นชอบและมีเจตคติที่ดีต่อการวิ่ง 1.2) มีเป้าหมายที่จะเป็นนักกีฬาที่มีผลงาน 1.3) ต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และ 1.4) มีนักกรีฑาที่ดีเป็นต้นแบบ ส่วนหัวข้อที่สองคือ แรงจูงใจภายนอกในการเลือกเล่นกรีฑาของนักเรียน ประกอบด้วย 2.1) มีเพื่อนชักชวนให้เข้าร่วมฝึกซ้อมกรีฑา 2.2) มีอาจารย์ชักชวนให้เข้าร่วมฝึกซ้อมกรีฑา 2.3) บรรยากาศในชมรมกรีฑาอบอุ่นเหมือนครอบครัว และ 2.4) สนุกกับการฝึกซ้อมกรีฑา  This research aimed to investigate the motivations behind secondary students' choice to participate in athletics at a certain school. The key informants were 31 secondary school students. Data were collected through observation, semi-structured interviews, concept maps, and critical incident techniques. Data were inductively analyzed using a constant comparison method and data triangulation. The study results revealed two main themes. First, internal motivations for choosing athletics included a passion for running, aspirations for athletic achievements, a desire for physical fitness, and the influence of role models. Secondly, external motivations encompassed peer encouragement, teacher encouragement, a welcoming sports club atmosphere, and the enjoyment of athletic practice.

References

คุณากร เปลื้องทุกข์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

บุณยทรรศน์ หมื่นละม้าย. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลามหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

พัศพงศ์ จิรพัฒนาพงศ์. (2562). ปัจจัยพยากรณ์ต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลของนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนกรมพลศึกษา (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เพลินจิต กลีบจำปี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเล่นกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี.

มหาลาภ ป้อมสุข, สาลี่ สุภาภรณ์ และอุษากร พันธุ์วานิช. (2559). เจตคติที่มีต่อกิจกรรมพลศึกษาตามการรับรู้ของผู้เรียน. วารสารคณะพลศึกษา, 19(1), 167-182.

มัชฌิมา คำสุวรรณ และสาโรจน์ สิงห์ชม. (2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(1), 249-262.

ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี และเกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนุกสนานในการเรียนวิชาบาสเกตบอลกรณีศึกษาชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(1), 183-192.

ราชวัตร แก้วปัญญา, วัฒนา สุทธิพันธุ์ และนำชัย เลวัลย์. (2554). แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬายิมนาสติกของนักกีฬายิมนาสติก ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 39. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 12(2), 100-109.

วรศักดิ์ เพียรชอบ และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัด เพื่อประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย ยีมิน, วิมลมาศ ประชากุล, สุพัชริน เขมรัตน์, นิรอมลี มะกาเจ และอันโตนิโอ มานูเอล ฟอนเซก้า. (2559). ปัจจัยทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความสามารถของนักกีฬาฟุตซอลชั้นเลิศในการ ฝึกซ้อมและการแข่งขัน. วารสารคณะพลศึกษา, 19(2), 254-267.

ศิริวัฒนา บุรพรัตน์. (2556). การศึกษาเรื่องการรับรู้ของนักกีฬากอล์ฟต่อประสบการณ์ในสนามกอล์ฟ กรณีศึกษา สนามกอล์ฟเขาทรายคันทรีคลับ (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สมฤทัย อาริสาโพธิ์, อริสา สารคำ, อุษณีย์ หงษ์ศรีจันทร์, ธนวรรณพร ศรีเมือง. (2566). แรงจูงใจของนักกีฬาฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งประเทศไทย รอบคัดเลือกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 48 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. Journal of Sport Science and Health Innovation, 2(4), 10-20.

สรายุธ รักภู่. (2554). แรงจูงใจในการเล่นกรีฑาของนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2550). วิจัยเชิงคุณภาพทางพลศึกษาและกีฬา. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2554). การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับคอร์สโยคะตามความต้องการของนิสิตปริญญาตรี. วารสารคณะพลศึกษา, 14(พิเศษ), 151-165.

สุรเชษฐ์ โชติวรานนท์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Downloads

Published

2024-04-18