การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Authors

  • อภิชัย คุณีพงษ์

Keywords:

ผู้นำ, ภาวะผู้นำ, พฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุข, Empowerment, Transformational leadership, Health behavior, Village health volunteers

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดำเนินการวิจับโดย 1) ศึกษาสมรรถนะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2) การสร้างหลักสูตรการเริมสร้างพลังอำนาจผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพสำหรับ อสม. 3) การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-testผลการวิจัย ได้หลักสูตรที่สร้างขึ้นขากผลการยืนยันองค์ประกอบของสมรรถนะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งสาระ เป็น 6 หน่วย ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ 2) พลังอุดมการณ์ อสม. 3) พลังใจแรงบันดาลใจผู้นำด้านสุขภาพ 4) พลังปัญญาพลังความคิดสร้างสรรค์สู่สุขภาพดี 5) พลังแห่งความเป็นปัจเจกบุคคลสู่ชุมชนสุขภาพดี และ 6) อสม.ผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ โดยแต่ละหน่วยมีขั้นตอนการเสริมสร้างพลังอำนาจ 5 ขั้นได้แก่ ขั้นการรับประสบการณ์ การระบุประสบการณ์ การวิเคราะห์ประสบการณ์ การวางแผน และ การปฏิบัติ ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และสมรรถนะ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพภายกลังการอบรมทันทีกับภายหลังการอบรม 1 เดือน พบว่าไม่แตกต่างกัน แสดงว่า กลุ่มตัวอย่างยังคงมีสมรรถนะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเช่นเดียวกับหลังการอบรมทันที  ABSTRACT          The purpose of this research was to develop a curriculum of transformational leadership empowerment on health behavior for village health volunteers. The three steps of the study were as follows: 1) to study competencies of transformational leadership on health behavior for village health volunteers by using Confirmatory Factor Analysis, 2) to build a curriculum of transformational leadership empowerment on health behavior for village health volunteers and 3)to implement and assess the  effectiveness of the curriculum of transformational leadership empowerment on health behavior for village health volunteers by one-group pretest-posttest design. Data analysis was performed using descriptive statistics and paired t-test. The level of significance was set at 0.1.         The results of this research yielded a curriculum of transformational leadership empowerment on health behavior for village health volunteers which consisted of six units: 1) The transformational leadership on health behavior, 2) The power of idealized influence, 3)The power of inspiration motivation of the health leader, 4) The power of intellectual stimulation to creativeness on god health, 5) The power of individualized consideration to health community, and 6) The transformational leadership on health behavior for village health volunteers. The process of empowerment comprised five steps, namely 1) Experience, 2) Naming experience, 3) Analysis of an experience, 4) Planning, and 5) Action. The results of the program evaluation showed that the subjects had better average scores on knowledge, attitudes and competencies of transformational leadership on health behavior. Their average competencies scores right after the training and one month thereafter did not change.

Downloads