ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของเด็กวัยก่อนเรียนโดยผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Authors

  • ธีรารัตน์ คงทน
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ

Keywords:

การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ปกครองกับเด็ก, ผู้ปกครอง, เด็กวัยก่อนเรียน, Parent, Pre-school children

Abstract

บทคัดย่อ         การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจับกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของเด็กวัยก่อนเรียนโดยผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้จำนวน 12 สัปดาห์ แบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและกิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด Paired Sample t-test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในด้านความรู้เรื่องผักและผลไม้ (9.6, 13.3) (95% CI = 2.8, 4.7) ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ (37.9, 42.4) (95% CI = 3.2, 5.8) การปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ (46.3, 52.8) (95% CI = 4.3, 8.6) และพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของเด็กวัยก่อนเรียน (16.5, 26.9) (95% CI = 9.3, 11.5) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในด้านความรู้เรื่องผักและผลไม้ (10.4, 11.2) (95% CI = 0.2, 1.3) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ การปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเริมการบริโภคผักและผลไม้ และพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของเด็กวัยก่อนเรียน ไม่แตกต่าง        ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจัดกิจกรรมการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ให้วามรู้ผู้ปกครองควบคู่กับเด็ก เปิดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจัดกิจกรรมการฝึกทักษะด้านอาหารประเภทผักและผลไม้ให้ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้นำกลับไปปฏิบัติกับเด็กได้ถูกต้อง เด็กจะได้รับการปลูกฝังการบริโภคผักและผลไม้ทั้งทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและบ้านไปพร้อมกัน ABSTRACT        This quasi- experimental research was aimed to evaluate the effectiveness of promoting vegetable and fruit consumption behavior program among pre-schoolchildren by parents at a child development center in Muang District, Surin Province. It was applied bus using learning theory and social support. The subjects were divided into two groups; experimental group (30 subjects) and comparison group (30 subjects). The experimental group was promoted with vegetable and fruit consumption behavior program for 12 weeks with 2 groups of activities; one for parents, and the other for pre-school children. Data were analyzed by using descriptive statistics, percentage of frequency, mean, standard deviation, median, maximum score, minimum score, paired sample t-test and independent sample t-test. The statistical significance was set at 0.05.        The result revealed that the experimental group hada significant average score before and after tested for vegetable and fruit knowledge 9.6 and 13.3 (95% CI = 2.8, 4.7), attitude about vegetable and fruit consumption 37.9 and 42.4 (95% CI = 3.2, 5.8), practice in vegetable and fruit consumable promotion 46.3 and 52.8 (95% CI = 4.3, 8.6) and vegetable and fruit consumable behavior in pre-school children 16.5 and 26.9 (95% CI = 9.3, 11.5). Meanwhile, the comparison group hada significant average score before and after tested for vegetable and fruit knowledge 10.4 and 11.2 (95% CI = 0.2, 1.3). However, attitude about vegetable and fruit consumption, practice in vegetable and fruit consumable promotion, and vegetable and fruit consumable behavior in pre-school children were not statistically significant.         According to the result mentioned above, child development center should hold activities to promote vegetable and fruit consumption and encourage parents to participate in such activity. Teaching parents together with children, exchange of experience among parent and the child development center, and skills for vegetable and fruit practice are among the activities that should be encouraged.

Downloads