การสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจราจรมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • มะลิ โพธิพิมพ์
  • พนิดา เทพชาลี

Keywords:

อุบัติเหตุจราจร, การสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจราจรก่อนและหลังการจัดโปรแกรม และศึกษาปริมาณการเกิดอุบัติเหตุจราจรของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน คำนวณตามสูตร Taro Yamane กลุ่มตัวอย่าง ได้รับโปรแกรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้การประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการวางแผนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันอุบัติเหตุจราจรในมหาวิทยาลัย การประกาศนโยบายให้มหาวิทยาลัยเป็นเขตสวมหมวกนิรภัย 100% ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน 2553 - พฤษภาคม 2554 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่าง ด้วยสถิติ Paired Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดโปรแกรม (1) ผู้ใช้รถจักรยานยนต์มีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรสูงกว่าก่อน การจัดโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ส่วนคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรผู้ใช้รถยนต์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (2) อุบัติเหตุการจราจรลดลงจาก ร้อยละ 24.8 เป็นร้อยละ 7.8 ยานพาหนะที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ลดลงจากร้อยละ 85.9 เป็นร้อยละ 64.5 การคาดเข็มขัดนิรภัยผู้ประสบ อุบัติเหตุเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 71.4 เป็น ร้อยละ 81.8 ส่วนการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 58.8 เป็นร้อยละ 70            จากผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมนี้มีประสิทธิผลเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของนักศึกษาอาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป            This quasi-experimental research aimed to determine traffic accident incidence, and prevention behaviors among students, teachers and supporting staff in Vongchavalitkul University. The samples were composed of 400 students, teachers and supporting staff. The accident prevention program was launched though workshops, campaign, and the 100% helmet policy. This study was conducted. The data were collected between June 2010 - May 2011, using questionnaire and behavior observation form. Both descriptive and inferential statistics including percentage distribution, arithmetic mean, standard deviation, and paired sample t-test at 0.05 level of significance were employed to analyze the data.            After the implementation of the program, the research findings showed that (1) the traffic accident prevention behavior of the motorcyclists had significantly higher increased than before the intervention at 0.05 significance level, but the traffic accident prevention behavior of the car drivers had not significantly different from before the intervention at 0.05 significance level. (2) the subjects had lower traffic accident from 24.8% to 7.8 %; motorcycles were major causes of traffic accident which decreased from 85.9 % to 64.5%; the motorcycle accident victims who worn helmet increased from 71.4% to 81.8% and the car accident victims who worn seat belt increased from 58.8% to 70%.            Based on the result of this study, the intervention program has the effectiveness to be used to change traffic accident prevention behavior of the university students, teaching and supportive staff and related organizations.

Downloads