การตรวจสอบความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียนฉบับภาษาไทย

Authors

  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

ความตรงของแบบทดสอบ, ความตรงของแบบสอบถาม, ความเทียงของแบบสอบถาม, ความเชื่อถือได้, อารมณ์ในเด็ก

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียนฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ปกครอง และสำหรับครู ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ คือ The Parent School-Age Temperament Inventory (P-SATI) และ The Teacher School-Age Temperament Inventory (T-SATI) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 246 คน และครูประจำชั้นจำนวน 9 คน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี แบบวัดต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้วิธีการแปลกลับ และตรวจสอบยืนยันความตรงเชิงเนื้อหาแบบ Face validity โดยผู้พัฒนาเครื่องมือ และค่าความตรงของเครื่องมือที่วัดสิ่งเดียวกันยืนยันความเหมาะสมจากค่าความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบวัดฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ปกครองกับครู คือพื้นอารมณ์แบบการแสดงปฏิกิริยาทางลบการติดตามงาน และกิจกรรม (r = .22, p< .01;r = .46, p< .001, r = .19, p<.01) ยกเว้น พื้นอารมณ์แบบการถอยหนีที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ (p> .05) ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในของพื้นอารมณ์แบบการแสดงปฏิกิริยาทางลบ การติดตามงานและกิจกรรมที่ผู้ปกครองตอบมีค่าแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .86, .73, .56 และที่ครูตอบเท่ากับ .94, .93, .83 สำหรับการถอยหนีที่ผู้ปกครองและครูเป็นผู้ตอบมีค่าแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .35 และ .4 ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแบบวัดพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียนฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ปกครองและครูมีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งความตรงและความเชื่อมั่น สามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียนไทยได้ ยกเว้นข้อความในพื้นอารมณ์แบบการถอยหนี ที่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมไทยต่อไป            This study aimed to examine validity and reliability of the Thai versions of the Parent School-Age Temperament Inventory (P-SATI) and the Teacher School-Age Temperament Inventory (T-SATI). Both Thai inventories were translated by using the back-translation method from the original versions of P-SATI and T-SATI. Sample included 246 parents of school-age children currently studying in grade 4-6, and 9 class teachers of elementary schools in Chon Buri municipality, Chon Buri province. The original English versions were used back-translation technique, and face validity was confirmed by the original inventories’ developer for content validity. Convergent validity between Thai P-SATI and Thai T-SATIwere also confirmed by significant correlations between mean scores of both scales of negative reactivity, task persistence and activity subscales (r = .22, p< .01;r = .46, p< .001 and r = .19, p< .01), except for withdrawal temperament of which no correlation was found (p> .05). Internal consistency reliability of negative reactivity, task persistence and activity subscales for the Thai parent version had their Chronbach’s alphas of .86, .73 and.56, and for the Thai teacher version of .94, .93 and.83. However, withdrawal temperament for both Thai parent and teacher versions had their Chronbach’s alphas of .35 and.48, respectively. These findings indicate that the Thai versions of P-SATI and T-SATI have appropriated psychometric properties for both validity and reliability. In addition, they could be applied reliably and validly with Thai sample of school-age children, except for items in withdrawal temperament which is need further study to modify and develop for more proper with Thai culture and context

Downloads