การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนา
Keywords:
การจัดการสิ่งแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของประชาชน, สิ่งแวดล้อม.Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อประเมินสภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนา 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาและทดสอบความเหมาะสมด้วยโปรแกรมทางสถิติ LISREL โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผลการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิของโครงการพัฒนาเกี่ยวกับการดำเนินการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสถานภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่ามีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดจนประเด็นปัญหาและอุปสรรคทำการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งจากการสัมภาษณ์ตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเจ้าของโครงการพัฒนาบริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมหน่วยราชการด้านสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนนำมากำหนดแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย 1) สถาบันอุดมศึกษา 2) สื่อมวลชน 3) องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม 4) เจ้าของโครงการพัฒนา 5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น6) ภาคประชาชน 7) หน่วยราชการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกระบวนการการสมการโครงสร้างโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นตัวแปรแฝงภายนอกและตัวแปรแฝงภายในจำนวน 8 ตัวทดสอบรูปแบบฯด้วยโปรแกรมทางสถิติลิสเรลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 214 รายแล้วทำการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรแฝงภายในและภายนอกจากค่า CFI เท่ากับ 0.93 ค่า GFI เท่ากับ 0.91 ค่าRMSEA เท่ากับ 0.36 พบว่ารูปแบบฯมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในระดับพอใช้ได้ในด้านอิทธิพลของตัวแปรพบว่าโครงการพัฒนามีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลต่อชุมชนและประชาชนมากที่สุดเท่ากับ 1.10 และองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลต่อชุมชนและประชาชนน้อยที่สุดเท่ากับ -0.23 The study aimed to: 1) evaluate the status of people participating in aproject of environmental impact-monitoring; 2) develop the participation of peoplein an environmental impact-monitoring model which was tested by LISREL. Mixedmethods were used in the data collection. By reviewing secondary data about theenvironmental impact-monitoring and the of the status of people participation,it was found that there were both internal and external factors relating to theimplementation of people participation, including various problems and obstructions.The study showed the strength and weakness of people participation in environmentalimpact in the data collected from the delegates of the implementing sectors, namelythe project developers, the environmental consultant company, the environmentalgovernment sectors, the local administrations and the people sectors. Data for thestudy was collected from: 1) a university; 2) the mass media; 3) an environmentalNGO; 4) a project proponent; 5) the local administration; 6) the people sector forthe implementation of people participation; 7) the government sector. The relevant organizations were treated as the external latent variables, whereas the eight otherinternal latent variables were also included in the model. The questionnaire was sent out to 214 individuals from sectors relevant tothe study. Consequently, it was found that the value of CFI = 0.93, GFI = 0.91,RMSEA = 0.036, and this showed that the model was affected with empirical datain the moderate level. Concerning the influence of variables, it was found that theproject proponent affected the people sector in the highest level of coefficients equalto 1.10, and the NGO had the lowest level of coefficients equal to -0.23.Downloads
Issue
Section
Articles