ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเล่นของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Authors

  • สาวิตรี วงศ์อินจันทร์
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

การเล่น, เด็กวัยก่อนเข้าเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract

          การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรม การเล่นของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างเป็นบิดาหรือมารดาและเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 84 รายคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคมพ.ศ. 2556เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม 5 ชุดได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพื้นอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน 3) แบบสอบถามความสัมพันธ์ในครอบครัว 4) แบบสอบถามสภาพแวดล้อมที่บ้านของเด็กวัยก่อนเรียนและ 5) แบบสอบถามพฤติกรรมการเล่นของเด็กวัยก่อนเรียนซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมสงวนท่าทีการเล่นคนเดียวที่ไม่มีการเคลื่อนไหวการเล่นคนเดียวที่มีการเคลื่อนไหวการเล่นทางสังคมและการเล่นที่ใช้ความรุนแรงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการเล่นทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยรายข้อมากที่สุดโดยพื้นอารมณ์ของเด็กความสัมพันธ์ในครอบครัวและสภาพแวดล้อมที่บ้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเล่นทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียน (r = .589, p < .01; r = .563, p < .01 และr = .599, p < .01ตามลำดับ) สภาพแวดล้อมที่บ้านเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดและมีนัยสำคัญทางสถิติสามารถทำนายพฤติกรรมการเล่นทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนได้ร้อยละ 35.9 (B = .771, t = 3.818, p < .001)และพื้นอารมณ์ของเด็กเป็นตัวทำนายที่ดีเป็นลำดับที่ 2 ทำนายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 (B = .113,t = 3.580, p < .01) และตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเล่นทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนได้ร้อยละ 44.6 (F(2,81) = 32.641, p < .001)          ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมที่บ้านและพื้นอารมณ์ของเด็กมีความสำคัญและ ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กวัยก่อนเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับเด็กและให้ความสำคัญกับพื้นอารมณ์ของเด็กเพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนมีพฤติกรรมการเล่นที่เหมาะสม          This predictive correlational study was conducted to examine the predictors ofthe play behaviors of preschoolers receiving service in child development centers inthe municipality of Chon Buri province. The sample included 84 fathers or mothers,and the preschoolers. Multistage random sampling was used to recruit the sample.The data was collected during September and October, 2013. The research instrumentsconsisted of: 1) the demographic questionnaire; 2) the preschool temperamentquestionnaire; 3) the family relation questionnaire; 4) a home environment questionnaire,and; 5) the preschool play behavior scale, including: reticent behavior,solitary-passive behavior, solitary-active behavior, social play and rough-play.The data was analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation, andstepwise multiple regression.          Results revealed that social play had the highest average score. Child temperament, family relationships, and home environments were associated with thepreschoolers’ social play behaviors (r = .589, r = .563, and r = .599, p < .01, respectively).Home environment was the best predictor accounting for 35.9% (B = .771, t = 3.818,p < .001) in the prediction of play behaviors; the second best predictor was childtemperament accounting for 8.8% (B = .113, t = 3.580, p < .01). Together, these twovariables were able to predict and account for 44.6% (F(2,81) = 32.641, p < .001).          The findings suggested that home environment and child temperament werethe significant factors and had an influence on the social play behavior among thepreschoolers. Therefore, those involved with the care of the children should providean appropriate home environment for the child and should focus on the temperamentof the child in order to promote appropriate play behaviors among the preschoolers.

Downloads