ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองที่ประยุกต์การแพทย์วิถีพุทธต่อพฤติกรรมดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • สิรญา ธาสถาน
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • ใจเพชร กล้าจน

Keywords:

การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, การแพทย์ทางเลือก, ความดันเลือดสูง

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองที่ประยุกต์การแพทย์วิถีพุทธต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดลพบุรีแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คนโดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองที่ประยุกต์การแพทย์วิถีพุทธนาน 6 สัปดาห์ประกอบด้วยกระบวนการกำกับตนเอง 3 ขั้นตอนได้แก่การสังเกตตนเองการตัดสินใจการแสดงปฏิกิริยาต่อตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวทางการแพทย์วิถีพุทธส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ในการปฏิบัติตนตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและเครื่องวัดความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Paired t-test, Fisher’s Exact และ Independent t-test          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองและระดับความดันโลหิตช่วงบนและช่วงล่างลดลงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมระดับความดันโลหิตช่วงบนและช่วงล่างลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลประชาชนเพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนต่อไป          The quasi-experimental study with a nonequivalent control-group pretest/posttest design was conducted to determine the effects of self-regulation programusing applied Buddhist medicine on the self-care behaviors and on the bloodpressure for people with prehypertension in the Loppuri province. The participantswere divided into experimental and control groups of 30 people each. The experimentalgroup participated in a six-week selfregulation program based on the Buddhistmedicine approach. The program consisted of three stages: self-observation,a judgment process and the participants’ self-reaction to their changing healthbehaviors according to the Buddhist medicine guidelines. The control group receivedthe conventional education program of the Ministry of Public Health. Data was collected by self-administered questionnaires and automatic blood pressuremeasurement devices. Statistical analysis was performed using percentages, means,standard deviations, the Chi-square test, the paired t-test, the Fisher’s Exact test,and an independent t- test.          Compared to the pretest, the posttest showed that the experimental group hada higher mean score level of self-care behaviors, and had lower systolic and diastolicblood pressure at a .05 significant level. Besides, the experimental group also hadthe higher mean score level of self-care behaviors, and lower systolic and diastolicblood pressure compared to the control group at a .05 significance level. Healthprofessionals and other concerned parties can apply this program to take care ofpeople with hypertension in order to prevent chronic diseases in the community.

Downloads