ความจำเป็นของการดูแลแบบประคับประคองในชุมชนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระยะท้าย: กรณีศึกษาเครือข่ายบริการปฐมภูมิแห่งหนึ่ง.

Authors

  • ศศิธร ธนะภพ.
  • รพีพร ขวัญเชื้อ

Keywords:

ความจำเป็นทางสุขภาพ, การดูแลแบบประคับประคอง, ชุมชน, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Abstract

การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสบการณ์การให้บริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการปฐมภูมิและประเมินความจำเป็นทางสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังระยะท้าย รวบรวมข้อมูลโดยวิธี snowball sampling ทีมสุขภาพจำนวน 10 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 10 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มโดยใช้แนวทางคำสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษาพบว่า ทีมสุขภาพปฏิบัติงานในบทบาทการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองครบถ้วนตามหลักการเน้นผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การดูแลแบบองค์รวม เชื่อมประสาน และต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและวางแผนดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนร่วมกันในทีมสุขภาพชุมชน การปฏิบัติของพยาบาลทำให้เข้าถึงผู้ป่วยได้ดีและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสนับสนุนการดูแลที่บ้านแก่ทีมสุขภาพได้ด้านความจำเป็นทางสุขภาพของผู้ป่วยพบว่าผู้ดูแลต้องการความมั่นใจในการดูแลภาวะวิกฤติที่บ้านการสนับสนุนการดูแลทางกายและจิตสังคมทั้งก่อนและภายหลังการสูญเสียจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การสื่อสารเรื่องการพยากรณ์โรคเพื่อวางแผนการดูแลของครอบครัวจากบุคลากรสุขภาพและการสนับสนุนของทีมผู้นำชุมชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพกรณีมีข้อจำกัดของครอบครัวโดยสรุปพยาบาลเยี่ยมบ้านมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งในระดับโรงพยาบาลและชุมชนการดูแลแบบประคับประคองควรเริ่มตั้งแต่การวินิจฉัยโรค และมีการวางแผนการดูแลรายป่วยในชุมชนร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยบริการสุขภาพในชุมชน ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านควรได้รับการเพิ่มสมรรถนะการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่องหน่วยบริการปฐมภูมิควรได้รับการส่งเสริมให้จัดบริการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบประคับประคองในชุมชนThis qualitative study aimed to evaluate the experience of a primary healthcareteam for palliative care services and the health needs of end-of-life chronicpatients. The technique of snowball sampling was implemented for data collection,which yielded 10 health personnel and 10 caregivers. Thematic analysis was usedfor in-depth interviews and focus-group discussions. The results revealed that thehealth team operated the palliative care practice based on the principle of patient-centeredand family-centered healthcare, and on the principle of comprehensive, coordinatedand continuous healthcare; however, there was no standard practice and patient-careplanning from the hospital to the community health team. The study showed thatthe nurses were the ones who had access to the patients in the hospital, and thevillage health volunteers provided health care in the community. In terms of thepatients’ needs, the caregiver wanted to have confidence to provide intensive care tothe patients at home. The village health volunteer wanted to provide physical andpsychosocial support before and after bereavement. Health personnel wanted toprovide the communication of the disease prognosis for the planning of family care.And the community leaders wanted to provide the support for access to healthcarefor those who had access-limitations. In conclusion, the study showed that the home-visitnurse played an important role in the palliative care both in the hospital and inthe community. Also, in conclusion, the study recommends that the palliative careshould start from the time of disease diagnosis, and the planning of patient care inthe community between the community hospital and the community care unit shouldstart before discharge. The community health volunteers should be encouraged toimprove their capacity to provide continuous healthcare at the patients’ homes, andthe primary care unit should be encouraged to conduct palliative care services forchronic patients in the community.

Downloads