ความชุกของผู้ติดเชื้อซิฟิลิสในแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจและ รักษาเพื่อขึ้นทะเบียนทำงาน ที่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Authors

  • วัลลภ วิชาญเจริญสุข.

Keywords:

ซิฟิลิส, แรงงานต่างด้าว

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของผู้ติดเชื้อซิฟิลิสและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพและรักษาโรคซิฟิลิสเพื่อขึ้นทะเบียนตามระเบียบที่ภาครัฐกำหนด ที่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ อายุ เพศ ศาสนา สถานภาพสมรส สัญชาติ ปีงบประมาณที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ และสถานะการติดเชื้อซิฟิลิสของแรงงานต่างด้าวที่เป็นกลุ่มศึกษาจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่า มีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 27,983 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.79 เพศหญิงร้อยละ 52.21 มีอายุเฉลี่ย 29.7 ปี มีสัญชาติเมียนม่าร์ร้อยละ 76.02 กัมพูชาร้อยละ 15.21 และลาวร้อยละ 8.77 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.41 และสถานภาพโสด ร้อยละ 59.56 พบมีผู้ติดเชื้อซิฟิลิสจำนวน 49 คนคิดเป็นร้อยละ 0.18 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซิฟิลิส ได้แก่ สัญชาติ โดยพบว่าสัญชาติที่มีผทูี้่ติดเชื้อซิฟลิ ิสมากที่สดุ ได้แก่ กัมพูชูา เมียนมา่ร ์และลาว ตามลำดับ (p < 0.01) และพบวา่ ผ้ตู ิดเชื้อซิฟิลิสมีอายุเฉลี่ยที่สูงกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อซิฟิลิสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพในแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนทำงานและการติดเชื้อซิฟิลิสในแรงงานต่างด้าวอาจเป็นสาเหตุให้มีการแพร่กระจายโรคซิฟิลิสในประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้This cross-sectional descriptive study aimed at determining the prevalenceand factors related to syphilis morbidity among the expatriates participating inemployment registration health check-up at Occupational Medicine clinic of NopparatRajathanee Hospital between October 1, 2011 and September 30, 2013. Data werecollected from the hospital computer database included age, sex, religion, maritalstatus, nationality, year at examination and Syphilis clinical status. A sample of 27,983expatriates was enrolled, 47.79 % were male and 52.21 % were female. The meanage was 29.7 years. Most of the expatriate workers came from Myanmar (76.02 %),Cambodia (15.21 %) and Lao (8.77 %). Most of them were Buddhist (98.41%) andsingle (59.56%). Syphilis was found in 49 expatriates and the prevalence of syphiliswas 0.18. The prevalence rates of syphilis were significantly higher in Cambodiansand Myanmars than in Laos (p <0.01). In addition, mean age among the expatriatesdiagnosed with syphilis was higher than those without syphilis (p < 0.001). Theresults of this study demonstrate the health problems in the expatriate workers andthat they may be one of the sources for spreading syphilis in Thailand.

Downloads