ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานนั่งอยู่กับที่กับโรคอ้วนในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Authors

  • วิภาสิริ สายพิรุณทอง
  • จรัส โชคสุวรรณกิจ
  • อรพรรณ ชัยมณี

Keywords:

โรคอ้วน, ดัชนีมวลกาย, การทำงาน, บุคลากรทางการแพทย์

Abstract

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานนั่งอยู่กับที่กับโรคอ้วนในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในปี พ.ศ. 2556กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 558 คน เป็นเพศชายร้อยละ 12.5 และเพศหญิง ร้อยละ87.5 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 38.7 ปี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ระหว่าง วันที่ 14มิถุนายน ถึง วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคอ้วนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีค่าเท่ากับร้อยละ 27.8 เพศชายมีความชุกของโรคอ้วนเท่ากับร้อยละ 32.9 เพศหญิงมีความชุกของโรคอ้วนเท่ากับร้อยละ 27.0 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น (p-value = 0.019) โรคเบาหวาน (p-value = 0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (p-value < 0.001) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การทำงานในฝ่ายสำนักงานและสนับสนุนการบริการทางการแพทย์ (p-value = 0.046)ส่วนการทำงานนั่งอยู่กับที่ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วน(p-value = 0.694) ดังนั้น ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อป้องกันและลดการเป็นโรคอ้วน ควรจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้เพิ่มการมีกิจกรรมของร่างกายอย่างเพียงพอทั้งกิจกรรมในเวลางานและนอกเวลางานThe aim of this cross-sectional study was to find out the association betweensedentary work and obesity among medical personnel in Nopparat RajathaneeHospital in 2013. The participants were 558 medical personnel, who were 12.5 %male and 87.5 % female, and whose mean age was 38.7 years old. The data werecollected by a self-administered questionnaire during June 14 – July 12, 2013. Theoverall prevalence of obesity was 27.8 %. The prevalence of obesity in male and femalewas 32.9 % and 27.0 %, respectively. Personal factors associated with obesity wereadvanced age (p-value = 0.019), diabetes mellitus (p-value = 0.001), and hypertension(p-value < 0.001). The work factors associated with obesity were working inadministrative-office and medical-service support departments (p-value = 0.046).Sedentary work (sitting 6 hours per working day or more) was not statisticallyassociated with obesity (p-value = 0.694). Thus, health promotion strategies forcreating an active workplace and an active lifestyle should be considered for medicalpersonnel to reduce the prevalence of obesity.

Downloads