ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

Authors

  • ภทรพรรณ อุณาภาค
  • ขวัญชัย รัตนมณี

Keywords:

การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ไต - - โรค - - ผู้ป่วย, ไต - - โรค - - ภาวะแทรกซ้อน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ของผู้ป่วยของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวน 280 ราย ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านประชากรคือ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับโรคไต การรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนและภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อชะลอไตเสื่อม และการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติเพื่อชะลอไตเสื่อม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไต โดยเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันจากงานส่งเสริมวิจัยควรส่งเสริมการดูแลตนเอง กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญถึงถึงความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรังควรให้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจและเกิดความมั่นใจในการดูแลตนเองที่ดี และคงสภาวะการทำงานของไตให้ยาวนานยิ่งขึ้นThe purpose of this research was to study the factors related to self-care behaviorto prevent further kidney-related complications among patients with chronic kidneydisease at Somdetphraphutthaloetla Hospital in Samutsongkhram province. Thesample included patients who were diagnosed with chronic kidney disease (N=280).The patients were sampled with specified quota, and they participated in an interview,which was then interpreted through indications of statistical analysis, including thePearson product-moment correlation coefficient, the mean and the percentage. Thefindings revealed that socioeconomic factors such as age, income and education wererelated to self-care behavior, and that these factors may have potentially delayed thedeterioration among patients with chronic kidney disease. In addition, the followinghad the same directional correlation to self-care behavior: the background knowledgeof kidney disease, the perceived severity of disease complications and end-stage renaldisease, the perceived benefits of slow disease progression by appropriate self-carebehaviors, and the perceived self-efficacy to slow down disease progression. Thiswas confirmed by the positive correlation generated from the corresponding data.Therefore, it is recommended that there should be the promotion of self-care behaviorby encouraging patients to consider the severity of the disease condition and itscomplications. Information should be given to promote the perceived benefits bypointing out that the behavior change would delay the kidney’s deterioration or reducefurther complications. The increase of perceived self-efficacy would help patientsunderstand and have confidence to take care of themselves, and would help them tomaintain and prolong their kidney function.

Downloads