ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

Authors

  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์
  • สมเกียรติยศ วรเดช

Keywords:

โรคอ้วน, เมทาบอลิกซินโดรม, นักศึกษา

Abstract

การศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุง ในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 320 คน คัดเลือกด้วย วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และมีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาชแอลฟาของแบบสอบถามด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการรับรู้ต่อภาวะอ้วนลงพุงเท่ากับ 0.71 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติกเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุง ผลการศึกษาพบว่านิสิตหญิงมีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงมากกว่านิสิตชายประมาณ 2.5 เท่า (OR = 2.44, 95% CI: 1.08 ถึง 5.51) เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น 1 ปีมีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงประมาณ 2 เท่า (1.83, 1.39 ถึง 2.45) และการมีคะแนนการรับรู้เพื่อการป้องกันโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้น 1 คะแนนมีความสัมพันธ์ต่อ ภาวะอ้วนลงพุงประมาณ 2 เท่า (2.38, 1.27 ถึง 4.44) จากผลการวิจัยผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการพัฒนานิสิตระดับมหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพที่มุ่งเน้นการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และ การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและลดโอกาสเสี่ยงต่อภาวะ อ้วนลงพุงและความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อไปThis cross-sectional study was to investigate factors relate to metabolic syndromeamong students in Thaksin University, Phatthalung campus. The data weregathered between January and February, 2013. Totally, 320 students studying insecond semester, 2012 educational year were drawn by systematic random samplingmethod. The content validity was checked by three experts. The Cronbach’s alphacoefficients of health promoting behavior and perception towards metabolic syndromeprotection were 0.71 and 0.90 respectively. Descriptive statistics were used toanalyze and multiple logistic regression analysis was used to analyze factorsassociated with metabolic syndrome among students. The main results revealed thatfemale students were more likely to be metabolic syndrome about 2.5 times (OR= 2.44, 95%CI: 1.08 to 5.51), an increasing of age was more likely to be metabolicsyndrome about 2 times (1.83, 1.39 to 2.45) and an increasing perception scores wasmore likely to be metabolic syndrome about 2 times (2.38, 1.27 to 4.44). The resultssuggested that executive and staff in student’s development department shouldestablish and provide health promoting behavior modification focused on foodconsumption, exercise, stress management and environmental arrangement in orderto promote health promoting behavior and decrease metabolic syndrome and risk ofbeing other diseases related to metabolic syndrome.

Downloads