ผลของโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาต่อการลดการสัมผัสสารตะกั่ว ของช่างหมันในอู่ต่อเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • จำนงค์ ธนะภพ
  • ศศิธร ธนะภพ
  • อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม

Keywords:

ตะกั่วเป็นพิษ, สุขศึกษา, ช่างต่อเรือ

Abstract

สารตะกั่วออกไซด์ (Pb3O4) ถูก นำมาใช้ในขั้นตอนตอกหมันเพื่อต่อและซ่อมเรือ ไม้การศึกษาครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ พฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสสารตะกั่ว ขนาดการสัมผัสสารตะกั่วที่ตัวบุคคลและการปนเปื้อนบริเวณที่พักอาศัยของช่างหมัน ก่อนและหลังการให้กิจกรรมอาชีวสุขศึกษาเพื่อลดการสัมผัสสารตะกั่วจากการทำงาน มีกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมศึกษา จำนวน 45 คน รวบรวมข้อมูล ได้แก่ ประวัติการทำงาน แหล่งปนเปื้อน ความรู้และพฤติกรรม การป้องกันการสัมผัสสารตะกั่ว โดยใช้ แบบสัมภาษณ์ พร้อมเก็บตัวอย่างเลือด จำนวน 37 คน และตัวอย่างฝุ่นบริเวณขอบหน้าต่างและพื้นบ้าน จำนวน 28 ครัวเรือน เพื่อนำไปวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่วก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ผลการศึกษาพบว่าหลังจากจัดกิจกรรมอาชีวสุขศึกษา ประมาณ 8 เดือน กลุ่มตัวอย่างมีระดับ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและผลกระทบจากสารตะกั่วเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 70.9 เป็น 74.4 เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานและป้องกัน การปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณที่พักอาศัย ได้แก่ ล้างมือก่อนดื่มน้ำและรับประทานอาหารว่างในระหว่าง การทำงาน เปลี่ยนชุดทำงานก่อนกลับบ้าน หรือเข้าบ้านพัก ระดับสารตะกั่วในเลือดมีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 48.4 เป็น 26.0 μg/dl ปริมาณสารตะกั่ว บริเวณพื้นบ้านมีค่ามัธยฐานลดลงทุกตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) หากเปรียบเทียบกับมาตรฐานขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและกระทรวงการเคหะและพัฒนาเขตเมืองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดปริมาณตะกั่วบริเวณพื้นบ้าน ไม่ควรเกิน 430.4 μg/m2 พบว่ามีจำนวนบ้านตัวอย่างเกิน ค่ามาตรฐานดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง ลดลงจาก 78.6 เป็น 53.6 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมอาชีวสุขศึกษา ส่งผลให้ช่างหมันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการสัมผัส สารตะกั่วขณะทำงานและบริเวณที่พักอาศัยของตนเองได้Lead oxide (Pb3O4) is used extensively in the process of caulking, in the constructionand repair of wooden boat in Thailand. This study compared knowledge score aboutlead, blood lead and surface lead after provided occupational health education toreducing lead exposure. Forty-five caulkers participated in this study. Thirty-sevenblood lead samples were assessed. Surface-wipe lead loading was measured atwindowsill and room floors in the homes of 28 caulkers. A questionnaire wasadministered to collect information on work history, lead sources, personal behaviorand knowledge about lead.After the occupational health education as training program about 8 months,the average of knowledge score about lead improved from 70.9 to 74.4 percent (p<0.05).They improved personal hygiene, such as washing hand before drinking and eatingsnacks, and changing work-clothes before going home or entering their home.The mean of blood lead decreased from 48.4 to 26.0 μg/dl. Median lead loading ofall floor locations decreased in highly significant (p<0.01) and number of workers’homes exceeded the US Environmental Protection Agency (EPA) and Departmentof Housing and Urban Development (HUD) hazard standards which defineddangerous level lead in settled dust of 430.4 μg/m2 for floors decreased (from 78.6to 53.6 percent). These results indicated occupational health education program canimprove lead-safe practices and reduce the risk of lead poisoning of caulkers andmagnitude of take-home lead.

Downloads