อัตราการกลับเข้าทำงานของผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจาก การทำงาน ในปี พ.ศ. 2556 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
Keywords:
ความเจ็บป่วย, ผู้ป่วย, การกลับเข้าทำงานAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการกลับเข้าทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเข้าทำงานของผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ที่อยู่ในข่ายความคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทน ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทำการเก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียน เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 203 คน เป็นเพศชายร้อยละ 78.8 เพศหญิงร้อยละ 21.2 อายุเฉลี่ย 30.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และไม่มีโรคประจำตัวแบ่งเป็นกลุ่มที่ประสบอันตรายจากการทำงานร้อยละ 95.6 และกลุ่มที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานร้อยละ 4.4 อัตราการกลับเข้าทำงานที่ระยะเวลา 3 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน, 4 เดือน, 5 เดือน, และ 6 เดือน หลังจากวันที่เกิดเหตุประสบอันตรายหรือวันแรกที่เริ่มเกิดอาการเจ็บป่วย เท่ากับร้อยละ 55.2, 72.4, 87.7, 94.1, 96.6, 98.5, 98.5, และ 98.5 ตามลำดับ การหาความสัมพันธ์ของการกลับเข้าทำงานกับปัจจัยด้านต่างๆ พบว่า เพศ (p = 0.025),การเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน (p < 0.001), การสูญเสียอวัยวะ (p < 0.001), และการมีภาวะกระดูกหัก(p = 0.002) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกลับเข้าทำงาน จากผลการศึกษาที่ได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกลับเข้าทำงาน สามารถนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้ต่อไปในอนาคตThis cross-sectional descriptive study aimed to describe the return to workrate and determine the factors related after occupational injuries or illnesses amongthe patients who visited Samitivej Sriracha Hospital from 1st January to 31thDecember 2013 which reimbursed from Workmen’s compensation fund. Data obtainedby medical record reviewed, document reviewed, and telephone interviewed. Total203 subjects, 78.8 % were males and 21.2 % were females. The average age was 30.5years old. Most of subjects were single, graduated from senior high school or receivedvocational certificate, and no underlying diseases. Subjects were suffered fromoccupational injuries 95.6 % and occupational illnesses for another 4.4 %. Returnto work rate at 3 days, 1 week, 1 month, 2 months, 3 months, 4 months, 5 months,and 6 months after injured day or first day of illness were 55.2 %, 72.4 %, 87.7 %,94.1 %, 96.6 %, 98.5 %, 98.5 %, and 98.5 %, respectively. Factors that found associationwith return to work status were gender (p = 0.025), in-patient treatment (p < 0.001),organ loss (p < 0.001), and bone fractures (p = 0.002). Findings from this studyindicated that related factors will guide the appropriate programs to support workerswith occupational injuries or illnesses in the future.Downloads
Issue
Section
Articles