ความเครียดในงาน และความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ในการดำเนินงานวัณโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน

Authors

  • ณัฐธิสา บุญเจริญ
  • ภูษิตา อินทรประสงค์
  • จรรยา ภัทรอาชาชัย

Keywords:

ประสิทธิผล, ความเครียดในงาน, ความพึงพอใจในงาน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Abstract

การวิจัยแบบอรรถาธิบายภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในงาน และความพึงพอใจในงานต่อประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการดำเนินงานวัณโรค 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 223 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน มีประสิทธิผลการดดำเนินงานวัณโรคสูง โดยผู้รับผิดชอบงานด้านวัณโรค ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความสามารถในการปรับตัวมากที่สุด (M = 3.72) ความเครียดในงาน และความพึงพอใจในงาน มีระดับต่ำ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในงานมากที่สุดคือ ลักษณะงาน (M = 2.16) และ พึงพอใจในงานด้านการทำงานมากที่สุด (M = 2.29) ประสบการณ์ และความพึงพอใจในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำและความเครียดในงานมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการดำเนินงานวัณโรค 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน (r = 0.13, 0.24 และ -0.15 ตามลำดับ) ความเครียดในงานและความพึงพอใจในงาน สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรประสิทธิผลของของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการดำเนินงานวัณโรค ได้ร้อยละ 7.00 ( R2 = 0.07) ดังนั้น ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายในการลดความเครียดในงาน และเพิ่มความพึงพอใจในงาน ด้วยการออกแบบการทำงานที่สามารถทำงานทดแทนกันได้ และเสริมสร้างศักยภาพการตัดสินใจในขอบเขตที่กำหนด มาใช้ในการบริหาร  This research was cross sectional explanatory research which aimed to find the association between job stress and job satisfaction of 223 officers of Tambon Health Promotion Hospitals who treated tuberculosis patients in 7 upper southern provinces of Thailand. Pearson’s product moment correlation and multiple regression analysis were used to analyze the data. The research results revealed that the officers had a high level of effectiveness. They had the highest capability in adjustment (M = 3.72). They had low levels of job stress and job satisfaction. Factors that caused job stress the most were job description (M = 2.16) and satisfaction with job characteristics (M = 2.29). The experience and job satisfaction had a positive association, and job stress had a low level of negative association with effectiveness of the officers (r = 0.13, 0.24, and-0.15, respectively). Job stress and job satisfaction could explain 7% (R2 = 0.07) of the variance of effectiveness of the officers. This research recommends that, administrators should establish policies to reduce job stress and increase job satisfaction by designing the functional orientation and increasing decision-making potential in established areas of authority to be used in management and support.

Downloads