ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สงอายุที่อาศัยในชุมชน

Authors

  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
  • ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์

Keywords:

พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สงอายุ

Abstract

การออกแบบกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 360 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูล โครงสร้างประชากร 2) แรงสนับสนุนทางสังคม และ 3) พฤติกรรมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ เท่ากับ 1 และ หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.78 – 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.5 มีแรงสนับสนุนทางสังคม ในระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 มีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมการบริโภค มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 17.94, SD = 3.12) ในขณะที่ พฤติกรรมการพักผ่อน มีคะแนนต่ำสุด (Mean = 10.31, SD = 1.90) ทั้งนี้ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ตามลำดับ ดังนี้ คือ ระดับการศึกษา แรงสนับสนุนทางสังคม การเป็นสมาชิกชมรม และการมีโรคประจำตัว ซึ่งสามารถทำนาย ได้ร้อยละ 31.2 (R2 = 0.312) และมีสมการทำนายในรูปคะแนน มาตรฐาน ดังนี้ พฤติกรรมสุขภาพ = 31.075 + 7.052 (ระดับการศึกษา) + 0.920 (การเป็นสมาชิกชมรม) + 0.879 (การมีโรคประจำตัว) + 1.103 (แรงสนับสนุนทางสังคม) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรมีการออกแบบกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการพักผ่อน โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการใช้แรงสนับสนุน ทางสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ ในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมAny design for an effective strategy for promoting health among elderly people needs to be supported with the evidence of factors influencing their health behaviors. This research aimed at studying health behaviors of the elderly and determining the factors influencing health behaviors of elderly people living in community. A cross-sectional survey was conducted with a sample of 360 elderly who were selected by simple random sampling. The questionnaire including 3 parts as follows: 1) Demographic data, 2) Social support, and 3) Health behavior. Content validity was performed by 3 experts. The average item-content validity index (I-CVI) was 1.00 and the range of Cronbach’s alpha coefficient was 0.78-0.84. Data were analyzed using the SPSS program and presented in number, percentage, mean, standard deviation (S.D.), median, maximum, minimum, and multiple regression analysis. The results showed that most of the elderly in the sample (68.5%) had social support at moderate level. Most of the elderly (63.3%) practiced health behavior at moderate level. Also, the results showed that the average score of eating behavior had the highest average (Mean 17.94, SD. 3.12) whereas rest behavior had the lowest average score (Mean 10.31, SD. 1.90). The factors affecting health behavior (Y) at 0.05 (p<0.05) significance level were education level, social support, being a member of a community, and co-morbidity, which could be predicted at 31.2% (R2 = 0.312). The predictive standard equation was Y = 31.075 + 7.052 (Education level) + 0.920 (Being a member of a community) + 0.879 (Co-morbidity) + 1.103 (Social support). Public health personnel should design programs for the elderly which put emphasis on rest behavior based on effecting factors on health behavior. Social support should be applied in order to enhance participation in health activities/promotion among elderly people in practicing appropriate health behavior.

Downloads