ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
Keywords:
DASH Diet, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงAbstract
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงอันเนื่องมาจากการบริโภค อาหาร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ผ่านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ ในปีงบประมาณ 2556 มี อายุระหว่าง 22-45 ปี ทั้งเพศชาย และหญิง ที่มีค่าความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง คือ130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท และมีปัจจัยด้านการบริโภคอาหารเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 74 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37คน และกลุ่มควบคุม 37คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคมประกอบไปด้วย กิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ และเสริมสร้างความมั่นใจ ได้แก่ (1) การให้ความรู้เรื่องโภชนาการเพื่อควบคุมและป้องกันความดันโลหิตสูงตามแนวทางของ DASH (2) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง และจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง (3) การกระตุ้นเตือนกลุ่มเป้ามายจากกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มตัวอย่าง มีการเสริมสร้างกำลังใจ และคอยกระตุ้นเตือนให้เกิดการปฏิบัติ ระหว่างการเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 8 สัปดาห์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวล่าง ไม่แตกต่าง(2) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตน ค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการสนับสนุนทางสังคม และค่าคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ไม่แตกต่างกันการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าการใช้แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของDASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคม ไม่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มตัวอย่าง และไม่ส่งผลต่อปัจจัยทางด้านคลินิกThis study was a quasi-experimental research with two groups of pretest-posttest design. The purpose of the study was aimed to explore the effects of dietary behavior modification program based on DASHguideline with self-efficacy theory and social support on reducing the risk of hypertension among pre-hypertensive patients.The study sample were screened on health risks in the fiscal year of 2013,men and women were chosen fromthe ages of 22 to 45 years old, with a high-risk blood pressure of 130-139/85-89 mmHg. They also consumedrisky hypertensive-prone food. The study samples included 74 subjects, 37 as the experimental group, whilethe remainder was the control group. The experimental group receiveddietary behavior modification program guideline based on DASH with self-efficacy theory and social support. The rogramwascomprised of activities for raising the awareness and building confidence which included: (1) training on proper nutrition for controlling and preventing hypertension. (2) sharing of experiences between the target population and thosewho succeeded in controlling hypertension., (3) raising awareness and encouragement among the target population. The investigation lasted for eight weeks. Data analyses included descriptive and inferential statistics. Results: (1) The statisticalaverageof systolic blood pressure between the experimentaland controlgroups was significantly different at .05, while diastolic blood pressure was not different.(2)The statistical average points of self-efficacy, social support, and dietary behavior under DASH guidelines between the experimentaland controlgroupswas not different.The authors concluded that dietary behavior modification program based on DASH guidelinewith self-efficacy theory and social support did not reduce the risk of hypertension among the study subjects and did not change the clinical manifestation.Downloads
Issue
Section
Articles