สิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานและความเสี่ยง ทางการยศาสตร์ของทันตบุคลากร

Authors

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง
  • วรวรรณ ภูชาดา
  • รัชติญา นิธิธรรมธาดา

Keywords:

BRIEF, ทันตแพทย์, ทันตาภิบาล, การยศาสตร์, ปวดคอ

Abstract

การศึกษาเชิงสำรวจ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานและความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของทันตบุคลากร ของหน่วยทันตกรรมในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 85 คน จาก 85 โรงพยาบาล รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสิ่งคุกคาม ในสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินความเหมาะสมของเครื่องมือในงานทันตกรรม และการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ โดย BRIEFTM survey ผลการศึกษาพบว่า สิ่งคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่าร้อยละ 85 คือ ทางกายภาพ (แสงสว่าง เสียง อุณหภูมิ) ทางชีวภาพ (เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย) และทางเคมี คือสารอุดฟันอะมัลกัม (ปรอท) ด้านความเหมาะสมของเครื่องมือตามเกณฑ์มาตรฐาน พบว่าที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 50 คือความเข้มแสงที่ระบบโฟกัส เก้าอี้คนไข้ เก้าอี้สนาม ชนิดหลอดไฟจากแสงโคมไฟของชุดทันตกรรมเคลื่อนที่ เครื่องฉายแสง ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในทันตแพทย์และทันตาภิบาล พบว่างานที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ งานขูดหินปูน (ร้อยละ 78.8) รองลงมาคืองานอุดฟัน (ร้อยละ 77.7) โดยอวัยวะที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อคือ คอ (ร้อยละ 78.8) และรองลงมาคือ หลัง (ร้อยละ 75.3) ผลการประเมินนี้เป็นแนวทางให้โรงพยาบาลจัดทำระบบการปรับปรุง และตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานทันตกรรมให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์และควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความตระหนักด้านการป้องกันตนเองจากสิ่งคุกคามทั้งด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพและความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่อาจส่งผลต่อการปวดคอและหลัง หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ จากการทำงานโรงพยาบาลควรสนับสนุนระบบการเฝ้าระวัง ปัญหาการปวดคอ หลัง และไหล่ โดยให้มีการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ร่วมด้วยThis survey study aimed to assess work environment hazards and ergonomic risk of dental personnelin the government hospitals of Khon Kaen Province. The study was conducted among 85 dental personnel from 85 hospitals by using forms of work environmental hazards identification, checklist of dental instrument according to the standard and BRIEFTM survey for ergonomics risk assessment. The results indicated that health hazards in working environment over 85% of dental professionals were physical hazards (i.e. light intensity, noise, and temperature), biological hazards (i.e. virus, bacteria) and chemical hazard i.e. amalgam (mercury). Dental instruments did not meet the dental health and safety standard over 50%, which were focus light intensity, patient chair, chair for field, light bulb for general lamp. BRIEFTM survey by observation of working postures of dentists and dental hygienists showed the highest ergonomics risk from working posture while scaling (78.8%), followed by tooth fillings (77.7%). The highest risk for development of musculoskeletal disorders (MSDs) was presented at area of the neck (78.8%), followed by the back (75.3%). Therefore, some hospitals should improve and perform annual inspection of working instruments to meet the dental health and safety standard. Hospitals should promote dental personnel awareness to protect themselves from physical, biological, chemical hazards and ergonomics risk factors that might cause neck and back pain. Health surveillance of back and neck pain should be set up with ergonomics risk assessment.

Downloads