กรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน: รายงานผู้ป่วย 3 ราย

Authors

  • จุฑารัตน์ จิโน
  • วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

Keywords:

การดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน, อาชีพความเสี่ยง, ความสามารถสูงสุด, ความทน

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการดูแลและจัดการกับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรงให้สามารถกลับเข้าทำงานและประกอบอาชีพได้อย่างปลอดภัย โดยทำการศึกษาผู้ป่วย 3 ราย รายแรกเป็นชายไทยวัย 41 ปีซึ่งทำงานในโรงงานผลิตสารเคมีและมีอาการป่วยคือตาข้างซ้ายมองเห็นลดลงได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ว่าเป็นโรคปลายเส้นประสาทตาข้างซ้ายขาดเลือดไปเลี้ยง (Non-arteric anterior ischemic optic retinopathy; NAION) รายที่สองเป็น หญิงไทย วัย 28 ปี อาชีพเป็น พนักงานตรวจสอบคุณภาพการผลิตในโรงงานต่อเติมชิ้นส่วนรถยนต์ประสบปัญหาการเดินเซและสูญเสียการได้ยินเนื่องจากผลที่ตามมาจากป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ (Meningoencephalitis) และรายที่สามเป็นหญิงไทยวัย 22 ปีทำงานในโรงงานผลิต ยางมีหน้า ที่นำชิ้นงานเข้า และออกจากเครื่องจักร ประสบอุบัติเหตุปลายนิ้วกลางของมือข้างซ้ายถูกตัดขาดระหว่างการทำงาน วิธีการศึกษาคือการนำข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยซึ่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลมาวิเคราะห์ตามหลักการการดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน (Return to work) อันได้แก่ การพิจารณาเรื่องความเสี่ยง (Risk) ความสามารถสูงสุด (Capacity) และ ความทน (Tolerance) ตามหลักการที่ American Medical Association (AMA) ได้กำหนดองค์ความรู้พื้นฐานไว้ทั้งนี้ผู้ป่วยทั้ง 3 รายได้รับการดูแลรักษาและมีโอกาสกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัยซึ่งการดำเนินงานตามกระบวนการนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายนายจ้างฝ่ายแพทย์ที่ทำการดูแลรักษาฝ่ายประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสถานประกอบการ ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการรวมถึงตัวผู้ป่วยเองด้วยThe purpose of this case series study is to demonstrate the process of return to work management which is one of the occupational health process that physicians and all stakeholders must consider in order to help patients with serious injuries or illnesses getting back to their works safely. This study shows three patients with different health conditions. The first case was a41 year-old Thai manwho worked in a chemical factory whose left eye could not seeand was diagnosed as “non-arteric anterior ischemic optic retinopathy; NAION” from an ophthalmologist. The second case was a28 year-old Thai woman who worked as a quality control officer and had gait ataxia and hearing loss problems from the sequelae of meningoencephalitis disease. The last case was a 22 year-old Thai woman whose distal part of the left middle finger was cut while working at a machine.The medical records of the three patients were reviewed according to the return to work management principle of American Medical Association (AMA)recommendations. As the result of the return to work management process, these three patients received appropriate care and could return to their works safely. The performance of return to work management was dependent on multidisciplinary participations including; employers, physicians, social security and labor compensation authorities, occupational health and safety officers, human resource officers, and the patients themselves.

Downloads