การบริหารโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
Keywords:
การบริหารโครงการ, ผู้สูงอายุ - - การดูแล - - ไทย - - นครศรีธรรมราชAbstract
การวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์การบริหารโครงการตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเชิงระบบตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2556 โดยใช้ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การบริหารโครงการ สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ดำเนินโครงการ 73 คนและสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 344 คน สัมภาษณ์เชิงลึกปัญหาและอุปสรรค เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า ความเพียงพอของงบประมาณในหน่วยงานสุขภาพและท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก บุคลากรและแผนงานระดับปานกลางวัสดุอุปกรณ์ของหน่วยงานสุขภาพและ อสม./ อผส. เพียงพอระดับน้อย ภาพรวมกระบวนการดำเนินงานระดับปานกลาง การสั่งการควบคุม กำกับของหน่วยงานรัฐอยู่ในระดับน้อย ส่งผลให้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อการดูแลจากครอบครัว อสม./ อผส. และเจ้าหน้าที่สุขภาพระดับมาก แต่พึงพอใจการดำเนินงานของ อบต. ระดับปานกลาง ผลการประเมินโครงการตามเกณฑ์ที่พึงประสงค์คิดเป็น ร้อยละ 20.93 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สรุปว่าควรพัฒนาโครงการในประเด็นที่มีผลการวิเคราะห์ในระดับน้อยและปานกลาง โดยพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุแก่บุคลากรของ อบต. การจัดการงบประมาณ การวางแผน การควบคุมกำกับ การจัดบุคลากรการเสริมพลังภาคีเครือข่ายให้ตอบสนองความจำเป็นทางสุขภาพของผู้สูงอายุทุกกลุ่ม และส่งเสริมการดูแลแบบครอบครัวและเพื่อนบ้านเป็นฐานThis cross-sectional survey research was aimed to analyze a managementof the Long-Term Care project in elderly of the Tha-Kuen Sub-District, ThasalaDistrict, Nakhon-Si-Thammarat Province in 2013. Research instrument included aself-administered questionnaire and interview for system management. Thirty threeproject manager and staff selected by purposive sampling, and 344 older personsselected by quota sampling were participated in the study. In-depth interview wasconducted to determine the problems and the obstacles. Data were collected betweenJune-August 2014 and analyzed by descriptive statistics and content analysis. Thesufficiency of the budget for the health and local administrative organizations wasat a high level, whereas, staff and plan were at a moderate level. The sufficiency ofthe equipment for the health units and volunteers were at a low level. The overallimplementation process was at a moderate level. Command, control, and supervisionfrom the government was at a low level resulting in a low level of community networkparticipation. The elderly had a high satisfaction level for family care, and the healthvolunteers and health team services, whereas a medium satisfaction for the localadministrative services. The project evaluation based on the expected criteria wasat 20.93 percent, which did not meet the criteria. In conclusion, the aspects at lowand medium levels should be improved, especially enhancing knowledge and skillsfor elderly care of the local administrative personnel. Management of budget, plan,controlling, and staffing should be emphasized. Empowerment of the communitynetworks to meet health needs of every group of the elderly as well as family andneighborhood-based care should be established.Downloads
Issue
Section
Articles