การประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและรูปแบบการใช้ชีวิตของพนักงานเก็บกวาดขยะของสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
โทลูอีน, รูปแบบการดำเนินชีวิต, พนักงานเก็บขยะ - - การดำเนินชีวิตAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและรูปแบบการใช้ชีวิตของพนักงานเก็บกวาดขยะของสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีการตรวจวัดปริมาณระดับความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศและปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดฮิปปูริคในปัสสาวะ (หลังเลิกงาน) รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิต จำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 110 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 50 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 60 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 42.40 ปี และ 33.07 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักนานเท่ากับหรือมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 92.0 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 66.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 12.0 โดยที่ส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูกร้อยละ 97.4 มีระดับคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ในระดับดี ร้อยละ 50.0 มีการนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 54.0 มีความเครียด เป็นบางครั้งในที่ทำงาน ร้อยละ 48.0 และกับครอบครัว ร้อยละ 50.0 และมีระดับคะแนนสุขภาพจิตอยู่ในระดับน้อย ถึงร้อยละ 96.0ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจ ของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของโทลูอีน 494.30± 16.11 μg/m3 และมีปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดฮิปปูริคในปัสสาวะ (หลังเลิกงาน) 210.02± 220.52 mg/g creatinine และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของโทลูอีนในบรรยากาศระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (p< 0.001) แต่เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณระดับความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลกับปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดฮิปปูริคในปัสสาวะ (หลังเลิกงาน) พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า พนักงานเก็บกวาดขยะมีการสัมผัสสารโทลูอีนในขณะปฏิบัติงานและควรตระหนักจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันเบื้องต้นรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปThis research was a cross sectional study which aimed to evaluate tolueneexposure, hippuric acid and life style among road sweepers at a District Office ofBangkok Metropolitan Area. We sampled 110 persons; 50 cases who worked as roadsweepers and 60 office workers as the controls. Mean age of the cases was 42.40 yearsold, where as the controls was 33.07 years old. Ninety two percent of the study groupworked at least 8 hours a day or more, 6 days a week (66.0 %) and about twelvepercent always used respiratory protection. However, most of them used only cottonmasks (97.4 %). In terms of life style of the cases, 50.0 % had a good level scorefor eating habit. 54.0 % of the cases had less than 6 hours sleep. We found that thestudy group had work stress (48.0 %) and stress involving family matters (50.0 %).The score of mental health revealed that 96.0 % of the cases had low score.Air samples collection utilized the personal Organic Vapor Monitor (3M 3500)attached at the lapel of the shirt of the cases. Results of the study group showedthe average concentration of toluene was 494.30 ± 16.11 μg/m3. Urine samples werecollected after the work shift. The results of urine analysis showed that the averagehippuric acid concentration was 210.02 ± 220.52 mg/g creatinine. Significantdifference between air sampling concentration of toluene between the study and thecontrol group was found (p < 0.001). Relationship between air-borne concentrationsof toluene and the concentrations of hippuric acid in urine was not detected.The author suggested that exposure to toluene among road sweepers should betaken into consideration although not exceeded the standard. Awareness training oftoluene exposure among road sweepers should be initiated. Appropriate respiratoryprotection should also be considered.Downloads
Issue
Section
Articles