ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และระดับตะกั่วในเลือด ของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่

Authors

  • หทัยรัตน์ เมธนาวิน
  • ฉันทนา จันทวงศ์
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ

Keywords:

สุขศึกษา, โรคเกิดจากอาชีพ, พิษวิทยาอุตสาหกรรม, ตะกั่ว, ตะกั่วในเลือด

Abstract

วิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสตะกั่วและระดับตะกั่วในเลือดของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานแบตเตอรี่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน ดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่โปรแกรมสุขศึกษาฯ คู่มือเรื่องโรคพิษตะกั่ว แผนกิจกรรมกลุ่ม โปสเตอร์เตือน แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสตะกั่วของหัวหน้างานและพนักงาน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคพิษตะกั่ว เจตคติต่อการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคพิษตะกั่ว เจตคติต่อการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสตะกั่วดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01 ) และกลุ่มทดลองมีระดับตะกั่วในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) สถานประกอบการควรใช้โปรแกรมนี้กำหนดเป็นแนวทางในการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว เพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานเกิดความยั่งยืนThis quasi-experimental research was aimed to investigate the effect of healtheducation program with participation of resource management on knowledge, attitude,and preventive behaviors, and blood lead level among lead exposed battery workers.The study subjects were divided into an experimental group and a control group of30 each. The experiment was carried out for 12 weeks. The instrument used in thisstudy was consisted of: 1) a health education program, lead poisoning handbook,group activity plan, warning poster, and recording form for lead exposure preventionbehavior, and 2) a personal information questionnaire, a lead poisoning knowledgeassessment questionnaire, and an attitude forward lead exposure preventionquestionnaire. Data were analyzed using descriptive statistic (percentage, mean, andstandard deviation) and independent sample t-test. Results showed that after thesubjects had participated in this study, the experimental group had a significantlygreater understandings regarding lead poisoning, attitude towards lead exposureprevention, and lead exposure prevention behaviors than the control group (p-value< .001). Moreover, the experimental group had a significantly greater decrease inblood lead level than the control group (p-value <.001). The management shouldutilize this program to prevent lead exposure for a sustainable behavior changeamong the workers.

Downloads