ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

Authors

  • พิมพ์พญา สมดี
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • จรี ไชยมงคล

Keywords:

พฤติกรรม, การป้องกัน, อาการภูมิแพ้, เด็กวัยเรียน, โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กล่มุ ตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกภูมิแพ้ แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 72 ราย คัดเลือกกลุ่มตัอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.89 (SD = 7.37, range 14-56) การรับรู้สมรรถนะ แห่งตนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .488, p < .001) สำหรับการรับรู้สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (p > .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสำคัญต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแก่เด็กวัยเรียน เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ในโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น          This descriptive correlation study aimed to examine the relationships between symptomatic preventive behavior of school-age children with allergic rhinitis and its related factors. The sample included 72 school-age children with allergic rhinitis and follow up in Out Patient Department of Allergy clinic at Somdej Phranangchaosirikit Hospital, Chon Buri province. Data were collected on March 2015. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. Results revealed that school-age children had high level of allergic symptomatic preventive behavior (M = 43.89, SD = 7.37). Self-efficacy was positive relationships the allergic symptomatic preventive behavior (r = .488, p < .001). However, there was no relationship between the perception of indoor and outdoor environments and preventive behavior of rhinitis symptom (p > .05). These findings suggest that self-efficacy was significant factors on the allergic symptomatic preventive behavior. Nurse and health care providers should promote self-efficacy in order to promote appropriate the allergic symptomatic preventive behavior among school-age children.

Downloads