ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก

Authors

  • จิระสันต์ มีรัตน์ธนวัต
  • ภานุพัฒน์ พุ่มพฤกษ์

Keywords:

หลักเกณฑ์, วิธีการที่ดี, การผลิตขั้นต้น, กลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, OTOP, ภาคตะวันออก

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก โดยการส่งแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออก 4 จังหวัด นำแบบสอบถามไปให้ประชากรของการศึกษา จำนวน 225 แห่งตอบแบบสอบถาม มีอัตราตอบกลับของกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 90.2 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ผลการวิจัยพบว่า ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิต (P-value = 0.027) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสถานประกอบการ (P-value = 0.001) และระยะเวลาดำเนินกิจการของสถานประกอบการ (P-value = 0.006) ปัจจัยด้านการประกอบกิจการ (ตามหลัก 4 M) ปัจจัยด้านการให้บริการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ตามหลัก 4 P’s) และปัจจัยด้านลูกค้า ต่อผลิตภัณฑ์ (ตามหลัก 4 P’s) มีผลกับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α =0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของสถานประกอบการ ปัจจัยด้านการประกอบกิจการ ปัจจัยด้านการให้บริการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และปัจจัยด้านลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น โดยเฉพาะปัจจัยด้านลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ในเรื่องผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าจะมีความมั่นใจ คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์สูงขึ้น (มีเลข อย.)          This research aimed to determine factors related to registration for general food product according to primary Good Manufacturing Practice (GMP) of One Tambon One Product (OTOP) traders in the eastern provinces. A developed questionnaire was sent to government officers in four eastern provincial public health offices. The government officers distributed the questionnaire to 225 OTOP. The response rate of the sample was 90.2%. Data were analyzed by descriptive and inferential statistics. Results Found that registration for primary GMP was statistically significant associated with the types of product (p=0.027), the average income per month of OTOP (p=0.001), the operation period (p=0.006), OTOP operation factors (4M), the services of provincial public health officer factors (4 P’s) and the response of customer to products (4 P’s). Therefore the strategy may also help encourage legal action such as modification of government services, supporting financial resources accessibility and income producing, and developing of consumers’ understanding in food quality system. In addition, related organizations should help OTOP traders to follow the rules of law in order to develop quality of Thai food in global community.

Downloads