ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ ทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO /IEC – 17025 ในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พรธิดา เทพประสิทธิ์
  • ประสพชัย พสุนนท์

Keywords:

ปัจจัย, พฤติกรรม, การใช้อุปกรณ์, ป้องกันอันตราย, บุคคล, ห้องปฏิบัติการ

Abstract

          การวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการทดสอบ และศึกษาระดับปัจจัยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการทดสอบ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC – 17025 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 132 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เลือกสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเข้าร่วมผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้านการรับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร จากหัวหน้างาน / เพื่อนร่วมงานสูงที่สุด และได้รับข้อมูลข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ / วารสารภายนอกบริษัท น้อยที่สุด ทั้งนี้ทางห้องปฏิบัติการควรเสริมสร้างข้อมูลในด้านของการนำข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ / วารสารภายนอกบริษัทมาให้ทางนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มขึ้น โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในด้านของกฎระเบียบ ข้อกำหนดในการใช้ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น สำหรับด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น จึงควรมีการติดตั้งป้ายแจ้งเตือนเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล          เมื่อพิจารณาถึงด้านความสม่ำเสมอของการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลนักวิทยาศาสตร์ ใช้อุปกรณ์ป้องกันมือและแขนทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน สำหรับด้านความเหมาะสม/สะดวกในการใช้อุปกรณ์ป้องกันป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พบว่า นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมีขนาดที่เหมาะสมกับส่วนของร่างกายที่ต้องการป้องกันสูงที่สุดเช่นกัน ในขณะที่ด้านพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า นักวิทยาศาสตร์จะไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหากเห็นว่าชำรุดสูงที่สุด และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพิ่มเติม น้อยที่สุด ดังนั้นทางห้องปฏิบัติการควรมีการจัดทำป้ายสื่อความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้นักวิทยาศาตร์มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความแตกต่างในด้านอายุที่ต่างกันมีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือและด้านความเหมาะสม/สะดวกในการใช้อุปกรณ์ป้องกันป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากตัวแปรในด้านอายุมีปัจจัยสำคัญเนื่องจากผู้ที่มีอายุน้อยจะให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันมากกว่าผู้ที่มีอายุมาก เพราะผู้ที่มีอายุในการทำงานมากขึ้นจะมีความตระหนักในการทำงานน้อยลงเนื่องจากเห็นว่าตนเองมีความเชี่ยวชาญ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีความชำนาญจะทำให้มีความระมัดระวังเป็นพิเศษ          This research on factors influencing on behaviors towards personal protective devices usage of laboratory scientists from laboratories in Bangkok certified by ISO /IEC – 17025: 2005 aims to study on factors influencing on personal protective devices usage of laboratory scientists as well as to study on factor levels of personal protective devices usage of laboratory scientists. This research was conducted by using quantitative research technique and the sample group of this research was 132 laboratory scientists from Accredited Laboratories According to ISO/IEC 17025. These samples were obtained by using probability sampling based on stratified random sampling. Tool used in this research was questionnaire and statistics used in this research were frequency, percentage, arithmetic mean, and Standard Deviation. The relationship between dependent variables and independent variables was tested by using inferential statistics including referential statistic, One-Way ANOVA, and Multiple Regression Analysis. The results showed that opinions towards personal protective devices usage on news and information perceiving was in high level and most of news and information was perceived through supervisors/colleagues in the highest level while newspaper/external journals was in the lowest level. Consequently, laboratories should improve news and information perception via newspaper/external journals by changing the form of providing information on rules and regulations to be exchanging such information. For behaviors, there should be participation of scientists therefore there should be some signs available in order to remind scientists about the importance of personal protective devices usage.          When considering on regularity of personal protective devices usage, scientists regularly used personal protective devices for their hands and arms while operating their works. For appropriateness/convenience of personal protective devices usage, it was found that scientists considered that they had the opinion towards the size of personal protective devices was appropriate with some parts of boy requiring protection in the highest level. Simultaneously, for behaviors towards personal protective devices usage of laboratory scientists on environment, it was found that they had the opinion that they would deny using personal protective devices if they found any defect in the highest level. On the other hand, the level of opinion towards additional study on personal protective devices was in the lowest level. As a result, laboratories should provide some signs communicating knowledge on personal protective devices usage in order to change scientists’ attitudes leading to higher level of awareness. From hypothesis testing, it was found that different ages influencing on different behaviors towards personal protective devices usage on participation for providing corporation, and appropriateness/convenience of personal protective devices usage because ages were considered as the important factor, i.e., young scientists paid more attention on personal protective devices usage than older scientists because older scientists thought that they had more work experiences and expertise in laboratories causing them to have low awareness of safety while younger scientists with lower level of expertise paid extra awareness on their operation in laboratories.

Downloads