ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • วริษฐา แสงยางใหญ่
  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
  • บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์

Keywords:

พฤติกรรม, การลดขยะ, ครัวเรือน, การจัดการขยะ

Abstract

          ขยะเป็นผลตามมาจากการขยายตัวทางประชากรและเศรษฐกิจ เมื่อชุมชนมีประชากรหนาแน่นเพิ่มขึ้น ปริมาณขยะจากครัวเรือนที่ประชาชนนำไปทิ้งเพื่อให้เทศบาลนำไปกำจัดก็เพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดปัญหาการจัดการขยะของเทศบาล จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนลดขยะจากครัวเรือนการวิจัยนี้จึงต้องการค้นหาปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะครัวเรือน 211 คน ซึ่งคัดเลือกมาจากเขตเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง วัดการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังผลลัพธ์ การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการลดขยะ มีความเที่ยง 0.88, 0.89, 0.92, 0.89, 0.86 และ 0.92 ตามลำดับ ข้อมูลวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนระดับน้อย ได้คะแนนเพียงร้อยละ 57.3 (ค่าเฉลี่ย = 45.86, S.D.= 15.86) โดยมีพฤติกรรมคัดแยกไว้ใช้ประโยชน์มากสุด รองลงมา คือการนำกลับมาใช้ซ้ำ การลดการใช้ การกำจัดบางส่วน ได้คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 65.4, 59.6, 56.7 และ 47.6 ตามลำดับ มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ 84.8 (ค่าเฉลี่ย = 67.87, S.D. = 8.44) รองลงมา คือ การรับรู้ประโยชน์ ความคาดหวังผลลัพธ์ การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนทางสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.3 (ค่าเฉลี่ย = 65.82, S.D.=8.20), 78.3 (ค่าเฉลี่ย = 62.67, S.D.= 8.92), 57.5 (ค่าเฉลี่ย = 45.96, S.D. = 11.73) และ 42.7 (ค่าเฉลี่ย = 45.86, S.D. = 11.79) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลร่วมกันทำนายพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือน ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้โอกาสเสี่ยงและลักษณะที่อยู่อาศัย โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 41.3 ดังสมการ           Y = -3.0005 + .571 (การสนับสนุนทางสังคม) + 1.784 (จำนวนสมาชิกในครัวเรือน) + .425 (การรับรู้โอกาสเสี่ยง) - 5.070 (ลักษณะที่อยู่อาศัย)           Household waste is a consequence population and economic growth. When the population in the community increased, the volume of household waste disposal also increased, causing a problem of municipal waste management. Household waste reduction campaign came into play. The purpose of this research was to determine factors affecting household waste reduction behavior among the people. The study subjects were 211 heads of household or the representatives in Laemfapha Municipality, Samutprakarn province. Data were collected by structured interviews in regards to perceived benefits, perceived barriers, perceived susceptibility, expectation, social support, and household waste reduction behavior. The questionnaire had the Alpha Coefficient of 0.88, 0.89, 0.92, 0.89, 0.86, and 0.90 respectively. Data were consequently analyzed for percentage, mean, standard deviation, correlation and stepwise multiple regression.          The results showed that household waste reduction behavior in the community was at a low level (57.3 percent point, average = 45.86, S.D.= 15.86), in regards to waste separation the most, followed by reused, reduce, and disposal (65.4, 59.6, 56.7 and 47.6 percent point, respectively). Majority had perceived susceptibility 84.8 percent (average = 67.87, S.D. = 8.44), perceived benefits, expectation, perceived barriers, and social support with the percent point of 82.3 (average = 65.82, S.D. = 8.20), 78.3 (average = 62.67, S.D. = 8.92), 57.5 (average = 45.96, S.D. = 11.73) and 42.7 (average = 45.86, S.D. = 11.79), respectively. Factors predicting waste reduction behavior included household members, social support, perceived susceptibility, and dwelling characteristics. The prediction model was Y = -3.0005 + .571 (social support) +1.784 (household members) +.425 (perceived susceptibility) -5.070 (dwelling characteristics). R2 = 0.413.

Downloads