ผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศของหญิงตั้งครรภ์ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง

Authors

  • สุกัญญา น้อยพิทักษ์
  • นิภา มหารัชพงศ์
  • ยุวดี รอดจากภัย

Keywords:

หญิงตั้งครรภ์, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, มลพิษทางอากาศ, เขตควบคุมมลพิษ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงซึ่งตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีระยอง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศ จำนวน 5 กิจกรรม ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับบริการตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Independent-Samples t-test          ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม และการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและเพิ่มขึ้นมากกว่าหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <0.001 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศ ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศดีขึ้น ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพในคลินิกฝากครรภ์ควรจัดโปรแกรมนี้ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างด้วย          The purpose of this study was to determine the effects of health promotion program on selfprotection from air pollution among pregnant women who received antenatal care at Rayong Hospital in Hornor of her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Sixty pregnant women were recruited and divided into experimental group and comparison group. The experimental group received 5 health promotion activities in 4 weeks, while the comparison group received typical service. A self-administered questionnaire comprised demographic information, knowledge on air pollution, perceived benefits of action, perceived barriers to action, perceived self – efficacy and activity-related affect and self-protection from air pollution was used for collecting data. The data were consequently analyzed for descriptive and inferential statistics including percentage, mean, standard deviation, and Independent-Samples t-test.          The results showed that the knowledge of self-protection from air pollution in the experimental group was significantly higher than the knowledge before receiving health promotion program as well as higher than the knowledge of the controlled group (p < 0.001). The results of this research could be concluded that providing the health promotion program increased levels of self-protection from air pollution among the pregnant women. Therefore, it could be inferred that health care providers in a similar antenatal clinic should apply this program to the pregnant women.

Downloads