การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป

Authors

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง
  • ธวัชชัย คำป้อง
  • วรวรรณ ภูชาดา

Keywords:

เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ, การยศาสตร์, แรงงานนอกระบบ, เย็บผ้าสำเร็จรูป

Abstract

          การศึกษาที่ผ่านมาในแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นพบความชุกของการปวดหลังในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา สูงถึงร้อยละ 60.38 และปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของแรงงานกลุ่มนี้ คือ พนักงานรับรู้ว่ามีการทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ การศึกษาเชิงสำรวจนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูปกลุ่มนี้ โดยทำการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบ จำนวน 313 คน ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้การสังเกตควบคู่กับการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพใกระบวนการทำงานของทุกคน คือ การเตรียมผ้า การเย็บผ้า และการตรวจ บรรจุหีบห่อ วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยใช้เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ (4x4) ที่คำนึงถึงโอกาสและความรุนแรง ผลการศึกษาพบว่าความเสี่ยงจากปัจจัยการ ยศาสตร์ โดยพิจารณาในระดับสูงของแต่ละกระบวนการ สูงที่สุด 3 ลำดับแรก มีดังนี้ 1) การเตรียมผ้า คือ ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม (ร้อยละ 48.56) การเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นเวลานาน ๆ (ร้อยละ 19.17) และการออกแรงมาก ๆ (ร้อยละ 6.39) ตามลำดับ 2) กระบวนการเย็บผ้า คือ ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม (ร้อยละ 64.86) การเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นเวลานาน ๆ (ร้อยละ 38.66) และการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ (ร้อยละ 31.95) ตามลำดับ 3) กระบวนการตรวจชิ้นงานและบรรจุหีบห่อ คือ ท่าทางการทำงานที่ ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 63.90) การได้รับแรงเครียดจากร่างกายโดยตรง (ร้อยละ 16.29) และการทำงานเคลื่อนไหวที่ซ้ำซากเป็นเวลานานๆ (ร้อยละ 6.39) ตามลำดับ สรุปผลการวิจัยได้ว่าปัจจัยทางการยศาสตร์ ที่เกิดจากท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม ท่าทางซ้ำ ๆ นาน ๆ เกิดแรงเครียดจากร่างกาย โดยตรงนี้ อาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการปวดหลังของแรงงานกลุ่มนี้ได้ ดังนั้น จึงควรจัดให้มีบริการด้านอาชีวอนามัย โดยการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์แก่แรงงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อการป้องกันโรคปวดหลังจากการทำงานต่อไปได้          Previous study among informal garments workers from Nong Ruea district, Khon Kaen Province found that high prevalence of low back pain of 6 months prevalence was 60.38% and related risk factor to low back pain was perception of repetitive working posture of workers. This survey study aimed to evaluate the health risk of ergonomics exposure of informal garment workers. The total numbers of subjects were 313 informal garment workers from One-stage cluster sampling. Observations and health risk assessment in three processes (preparation, sewing and quality control and packaging) were performed. Data were estimated by health risk matrix of 4x4 that considered the likelihood and the severity. The results showed that top 3 highest ergonomics risks of each process were; 1) preparation process were awkward posture (48.56%), long repetitive motion (19.17%) and dynamic exertion (6.39%), 2) sewing process were awkward posture (64.86%), long repetitive motion (38.66%) and long work duration (31.95%), 3) quality control and packaging process were awkward posture (63.90%), body stress (16.29%) and long repetitive motion (6.39%). In conclusion, this study found the high risk from ergonomics factors from awkward posture and repetitive activities, in the process of garment producing. Therefore, the recommendations are providing the occupational health services to workers by the improvement of workstation and the ergonomics training for MSDs prevention.

Downloads