การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

Authors

  • อุไรพร โคตะมี
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์
  • สุทิน ชนะบุญ

Keywords:

การพัฒนา, การบันทึกเวชระเบียน, สหวิชาชีพ, ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบันทึกเวชระเบียน 2.) เพื่อพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพ และ 3.) เพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานีมีกระบวนการ 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล ประชากรที่ศึกษา จำนวน 40 คน ศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2558 – กรกฎาคม 2559 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 แบบตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่าคุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยนอกข้อที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด คือ ประวัติการเจ็บป่วย (ร้อยละ 89.02) ข้อที่มีความสมบูรณ์น้อยที่สุดคือ การรักษาการตรวจเพื่อวินิจฉัย (ร้อยละ 78.59) และเวชระเบียนผู้ป่วยในพบว่าข้อมูลเนื้อหาอื่น ๆ ของใบสรุปการจำหน่ายและส่วนประกอบอื่น ๆ มีความสมบูรณ์มากที่สุด (ร้อยละ 96.67) ข้อที่มีความสมบูรณ์น้อยที่สุด คือการบันทึกความก้าวหน้าการดำเนินโรคและบันทึกคำสั่งการรักษาของแพทย์ (ร้อยละ 61.39) ส่วนค่าเฉลี่ยความรู้เจตคติและการมีส่วนร่วมพบว่าหลังดำเนินงานค่าคะแนนเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.002, <0.001, 0.003 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพพบว่า 1) ทีมสหวิชาชีพมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น 2) มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน 3) มีการบันทึกข้อมูลเวชระเบียนได้ถูกต้อง ครบถ้วน มากขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่าความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วมที่ดีของทีมสหวิชาชีพ ก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ทำให้คุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ครบถ้วน สมบูรณ์ขึ้น           This action research aimed to 1) study of medical records problems, 2) to investigate the development of medical records programme for multidisciplinary team, and 3) to evaluate the quality of medical records programme for multidisciplinary team in Chaiwan Hospital, Chaiwan District, UdonThani province. The study was divided into 3 phases: 1) the preliminary phase, 2) the action phase, and 3) the evaluation phase. The population was 40 people, which set up from November 2015 to July 2016.The quantitative data was collected by the questionnaire (Conbach’s coefficient = 0.84) and the outpatient and inpatient medical record audit form. The qualitative data was made through the interviews, group discussions and observations. Both quantitative and qualitative data were analysed by descriptive statistics Percentage, mean, standard deviation, maximum, minimum and content analysis respectively. The results of the preliminary phase shown that the most completely information of outpatient's medical records audit was patient’s history (89.02 percent) and the lowest incomplete information was treatment plan (78.59 percent). On the other hand for the inpatient's medical record was found that the summary discharge and other attachments were most completely information (96.67 percent) but the record for the disease progression procedure was low (61.39 percent). As well as the average of knowledge, attitude toward development of patient medical records and the participation in the programme were increased their scores significantly at 0.05 (p-value = 0.002, <0.001, 0.003 respectively). As content analysis development of medical records of multidisciplinary team were found 3 particular results: 1) the multidisciplinary team were more participation on their jobs, 2) Setting up their action plan, and 3) the medical records were completely accurate. Therefore, the key success of this study emerged that the multidisciplinary team should be improved their knowledge, be positively attitudes toward development of medical records and participate for each others, This results in a higher percentage of completion of medical records which are concerned for accurately medical records.

Downloads