การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย
Keywords:
การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุ, อุบัติเหตุ, การจราจร, ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสภาพที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับขี่ การไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยกับการเกิดอุบัติเหตุ จราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย (2) สร้าง พัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องโมเดล เชิงสมมติฐานของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน เป็นผู้ที่เคยและไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการจราจร เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า การไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับขี่ การไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.27 ถึง 0.92 (2) โมเดลเชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ค่า X2= 44.13, df = 35, p-value = 0.14, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.02 โดยตัวแปรสาเหตุในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย ได้ร้อยละ 70.0 และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ พบว่าพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย มีขนาดอิทธิพลทางตรงบวกสูงสุดกับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The objectives of this study were (1) to study the correlations among the variables of lack of traffic rules knowledge, the motorcyclists’ unsafely, danger unawareness and careless behaviors with their traffic accidents in Loei province, (2) to create, develop, and verify the concordance of hypothetical model of the causal correlations of the traffic accidents from the motorcyclists in Loei province which was developed with the empirical data. The samples were 440 people who used to have and never had a traffic accident. The research instruments were rating scale questionnaires. The validity of the danger unawareness was 0.77. The statistic tools were percentage, mean, standard deviation and the correlation coefficient of Pearson. The validity of the model and the empirical data was approved with Structural Equation Modeling. The results were as the followings: (1) The correlations among the motorcyclists’ unsafely, danger unawareness and careless behaviors and their traffic accidents exhibited a statistically significance at the level of .05 and a coefficient correlation at the level of 0.27-0.92. (2) The model of the causal correlations of the traffic accidents of the motorcyclists in Loei province was consistent with the empirical data which exhibited X2 = 44.13, df = 35, p-value = 0.14, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.02, RMR = 0.03, CN = 573.62. Actually, the variables from the model could exhibit the variability of the traffic accidents of the motorcyclists in Loei province at 70.0 percent and the direct impact on the traffic accidents exhibited their careless behaviors at the highest direct positive influence at the level of 0.77.Downloads
Issue
Section
Articles