การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วม

Authors

  • ญาณันธร กราบทิพย์
  • กุหลาบ รัตนสัจธรรม
  • วนัสรา เชาว์นิยม
  • วัลลภ ใจดี

Keywords:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, สมรรถนะนักสาธารณสุข, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การเตรียมความพร้อม, สาธารณภัยน้ำท่วม

Abstract

          งานวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะและตัวแปรที่อธิบายลักษณะองค์ประกอบสมรรถนะของนักสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการสาธารณภัยจากน้ำท่วมสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนทั้ง 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ตัวอย่าง 259 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่พัฒนามาจากกรอบแนวทางตามวัฏจักรการจัดการสาธารณภัย ร่วมกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) โดยการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบสมรรถนะของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วมประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ มีตัวแปรทั้งหมด 50 ตัวแปร ดังนี้องค์ประกอบที่ 1) สมรรถนะการจัดระบบงานสาธารณสุข ดูแลช่วยเหลือ เยียวยาผู้ประสบภัย 2) สมรรถนะการประสานงาน การสื่อสาร การจัดการเหตุการณ์เฉพาะหน้า 3) สมรรถนะการวางแผนเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรและชุมชน 4) สมรรถนะการประเมินสถานการณ์และการระบุแนวทางแก้ไข 5) สมรรถนะการบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม 6) สมรรถนะการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพมีตัวแปรที่บรรยายองค์ประกอบ 12,12,8,6,7 และ 5 ตัวแปรตามลำดับ จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา ความสามารถและสมรรถนะให้กับนักสาธารณสุข ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมั่นใจเมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยน้ำท่วม           The purpose of this study was to analyze and explore the variables of the competency components of public health professionals in local government forpreparedness and management of flood disaster. The study subjects included 259 public health professionals in the local government offices. The public health professionals were selected by stratified simple random sampling. The questionnaire was developed by the researchers from the disaster management cycle and in-depth interview with experts in the field. Data were analyzed using exploratory factor analysis technique, obtained by principle components extraction and orthogonal rotation by Varimax method. The findings were as follows; six components were derived, and 50 items were identified which included 1) public health system management, care of the community and recovery / rehabilitation 2) coordinating, communication and solving unexpected problems 3) planning, preparing personnel, community and volunteers to be ready for disaster 4) situation assessment and identification of solutions for disaster 5) disaster risk reducing management, ethical practice and legal practice, and 6) health surveillance. There were 12,12,8,6,7 and 5 variablesthat described the components, respectively. The results of this research can be used as information for the local government to improve the public health professionals competencies to perform their duties during the disaster.

Downloads