ความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด : กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้

Authors

  • วิลาสิณี ทองบุ
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

Keywords:

ความชุก, พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรกลุ่มเพาะปลูก, สารเคมี, ศัตรูพืช

Abstract

          การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ จำนวน 9 อำเภอ ซึ่งขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรวบรวมข้อมูลเกษตรกรที่ถูกวินิจฉัยตามรหัสโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ T60.0 (พิษออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต), T60.1 (พิษยาฆ่าแมลงกลุ่มที่มีสารประกอบฮาโลเจน), T60.2 (พิษยาฆ่าแมลงชนิดอื่นๆ), T60.3 (พิษยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าเชื้อรา), T60.4 (ยาฆ่าหนู), T60.8 (สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ) และ T60.9 (สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ ที่ไม่ระบุรายละเอียด) จากฐานข้อมูล 43 แฟ้มของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 30 ธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและอัตราความชุกต่อเกษตรกรแสนคน          ผลการศึกษาพบอัตราความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ ปี พ.ศ. 2555 - 2559 เท่ากับ 3.15, 18.91, 32.57, 39.55 และ 48.48 ต่อเกษตรกรแสนคน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอัตราความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประชากรจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559 เท่ากับ 0.84, 3.06, 5.65, 8.33 และ 7.11 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งระดับโซนและระดับจังหวัดโดยในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสุวรรณภูมิมีอัตราความชุกสูงที่สุด เท่ากับ 20.28 ต่อเกษตรกรแสนคน และอำเภอจตุรพักตรพิมานพบอัตราความชุกน้อยที่สุด เท่ากับ 2.10 ต่อเกษตรกรแสนคน โดยช่วงฤดูการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมคือเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปีพบอัตราความชุกสูงที่สุด          การศึกษาครั้งนี้พบว่าความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ดสูงกว่าในกลุ่มประชากรทั่วไปจากฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) กว่า 4 เท่า ดังนั้นจึงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ บุคลากรสาธารณสุขควรมีการรณรงค์ให้มีการใช้สารเคมีลดลงโดยใช้สารชีวภาพทดแทน และการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและการปฏิบัติตัวในการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิ และในช่วงฤดูทำเกษตรกรรม พร้อมทั้งควรมีการกำหนดนโยบายและการกำกับกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชนำไปสู่การลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อไป           This retrospective descriptivestudy aimed to survey the prevalence rate of pesticide poisoning among farmers in Roi Et Province. A case study of southern Roi Et included ninedistricts of planting farmers registry to agricultural Ministry. Secondary data were collected from health database of 43 folders of Public Health Roi Et province from January 2012 through December 2016, collected by ICD-10 codes of T60.0 (Organophosphate and carbamate insecticides), T60.1 (Halogenated insecticides), T60.2 (Other insecticides), T60.3 (Herbicides and fungicides), T60.4 (Rodenticides), T60.8 (Other Pesticide) and T60.9 (Pesticide, unpesticide). The data analyses were descriptive statistics and the prevalencerate per 100,000 populations.          Results showed that the prevalence rate of pesticide poisoning in famers of the southern Roi Et province from 2012 through 2015 were 3.15, 18.91, 32.57, 39.55 and 48.48 cases per 100,000 farmers, and presented the trend of increasing rate every year. Thoserates were higher than the prevalence of pesticide poisoning among Roi Et population which were 0.84, 3.06, 5.65, 8.33 and 7.11 cases per 100,000 populations from 2012 to 2015 with an increasing cases every year. in southern Roi Et, the highest prevalence found in Suwannaphum district (20.28 cases per 100,000 farmers) and the lowest rate found in Chaturaphak Phiman district (2.10 cases per 100,000 farmers). These 5 years (2012-2015) prevalence showed that seasonal pesticide poisoning in farmers was in July through in September of every year.          This study presented the prevalence of pesticide poisoning among farmers in four times higher than of general population. Therefore, health officer should advocate decreased use of pesticide by using biological substitutes and raising awareness of proper use and self-protection from pesticide poisoning. Especially in Suwannaphum district and agricultural season. There should also be a policy and regulation to control the use of pesticides. All so for short term and long term decreased health effects of pesticide poisoning among farmers.

Downloads