ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • อรวรรณ วรอรุณ
  • ปิยะธิดา ขจรชัยกุล
  • ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
  • พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์
  • ศุภชัย ปิติกุลตัง

Keywords:

การควบคุมตนเอง, การสูบบุหรี่, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Abstract

          การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทั้งเพศชายและเพศหญิง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 404 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square Test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ เพศ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากผู้ปกครอง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การรับรู้กฎระเบียบเรื่องบุหรี่ของโรงเรียน และ สภาพแวดล้อมของชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การรับรู้กฎระเบียบ เรื่องบุหรี่ของโรงเรียน สามารถร่วมกันทำนายการควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของตนเองได้ คิดเป็นร้อยละ 52          ข้อเสนอแนะ การสนับสนุนจากผู้ปกครองในการดูแลเรื่องการศึกษาของนักเรียน การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ และบริหารค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียนอย่างเหมาะสม           This cross-sectional survey research aimed to study the factors related to self-control in tobacco smoking behaviour in secondary school students, Suphanburi province. A self-administered questionnaire was used to collect data from 404 students, male and female student, in grade 7-9 during the first semester of the academic year 2016, the Educational Service Area 9, Suphanburi province. The factor that could predict the outcome variable were analysed by Pearson’s Correlation Chi-square Test and Stepwise Multiple Regression Analysis respectively.         The research finding revealed that factors related to self-control in tobacco smoking behaviour among high school students in Suphanburi province were gender, current tobacco smoking behaviour, GPA, income, peer group’s influence, the perception of school rules, the community environment, Furthermore, it was found that 52 percent of the variability of outcome variable could be explained by the combination of 5 variables including gender, current tobacco smoking behaviour, GPA , peer group’s influence, the perception of school rules, with statistical significance (p< 0.05)          This study suggests that, parent should get involve in children's academic achievement support, providing education in terms of drug-addict problem as well as managing budget for children's expenditure properly.

Downloads