อาการปวดตึงคอภาวะสุขภาพและผลกระทบจากอาการปวดของบุคลากร มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

Authors

  • มยุรี พิทักษ์ศิลป์
  • พวงทอง อินใจ
  • กาญจนา พิบูลย์
  • วัลลภ ใจดี

Keywords:

กลุ่มอาการปวดตึงคอ, ปวดคอ, โรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, สุขภาพ, Neck pain

Abstract

          วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อหาความชุกของอาการปวดตึงคอ ภาวะสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันสัมพัทธ์ ในบุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนารูปตัดขวาง โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จากการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง (self administered questionnaire) ตามความสมัครใจจากแบบสอบถามที่สร้างขึ้นซึ่งประกอบด้วย 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ภาวะสุขภาพทั่วไปตามแบบประเมิน Short form health survey (SF-36) ฉบับภาษาไทย 3. ข้อมูลผลกระทบจากอาการปวดต้นคอด้วย Neck Disability Index (NDI) และ 4. ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2556 และทำการวิเคราะห์โดยวิธีโลจิสติก รีเกรซชั่นชนิดหลายตัวแปรผลจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 388 คน พบว่ามีความชุกของอาการปวดตึงคอเท่ากับ 80.1% (Prevalence = 80.1%; 95% CI = 76.2 % - 84.1%) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (74%) คุณภาพชีวิต (SF-36) ในทุกมิติได้ผลค่าเฉลี่ยระหว่าง 56.7 - 70.9 คะแนนและอาการปวดตึงคอเล็กน้อยถึงปานกลางและส่งผลกระทบเล็กน้อยถึงปานกลางต่อสุขภาพ (mean NDIs = 8.9 - 20 points) โดยมีปัจจัยเสี่ยงอาการปวดตึงคอได้แก่ การมีโรคประจำตัว ( adj.OR = 2.41; 95% CI = 1.2 - 4.7) และผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันสูง (adj.OR = 1.02; 95% CI = 1.0 - 1.03) ส่วนปัจจัยป้องกันอาการปวดตึงคอได้แก่ การบริโภควิตามินเสริม (adj.OR = 0.39; 95% CI = 0.19 - 0.62) การออกกำลังกาย (adj.OR = 0.49; 95% CI = 0.3 - 0.8) และการตรวจสุขภาพประจำปี (adj.OR = 0.41; 95% CI = 0.2 - 0.7) สรุปแม้ผลความชุกของอาการปวดตึงคอสูงถึง 80% แต่ส่วนใหญ่ยังมีอาการส่งผลกระทบต่อสุขภาพเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งสามารถทำการรักษาและป้องกันเพื่อให้หายจากอาการและไม่ให้อาการรุนแรงหรือแปรเป็นเจ็บป่วยเรื้อรังได้           The research aims to determine the prevalence of neck pain, health status, relative risk factors and protective factors on the staff of the University by the sample derived from a simple random sampling with the self administered questionnaire on a voluntary basis. The questionnaire was created, which include: 1. demographic data 2. general health by Short Form Health Survey (SF-36 Thai Version Questionnaire) 3. effect from neck pain by Neck Disability Index (NDI Thai version Questionnaire) and 4. health behaviors. Data were collected between January - March 2013 and analyzed by means of logistic regression multi variables. The respondents consisted of 388 people found that the prevalence of pain, stiffness of neck equal to 80.1% (Prevalence = 80.1%; 95% CI = 76.2% - 84.1%), mainly female (74%), with an average working hours were 58.7 hours per week. The average quality of life (SF-36) was between 56.7 and 70.9 points in all dimensions and impact of neck pain, stiffness of neck were mild to moderate (mean NDIs = 8.9 - 20 points). Relative risk factor to neck pain and stiffness were the underlying disease (adj.OR = 2.41; 95% CI = 1.2 - 4.7) and persons who with high hours of work each day (adj.OR = 1.02; 95% CI = 1.0 - 1.03) prevention factors include the consumption of vitamin supplements ( adj.OR = 0.39; 95% CI = 0.19 - 0.62), exercise (adj.OR = 0.49; 95% CI = 0.3 - 0.8), and annual health check (adj.OR = 0.41; 95% CI = 0.2 - 0.7). The research showed that the staff of the University with the prevalence of neck pain was high. However, the impact and symptoms of neck pain is still in mild to moderate which can treat to recover from the symptom and limit to turn to high severity or chronic symptom.

Downloads