การศึกษาความแตกต่างของมุมคอยื่นไปด้านหน้าในกลุ่มคนสุขภาพดีที่ใช้แท่นวางแขนและที่ไม่ใช้ แท่นวางแขนเล่นสมาร์ทโฟน

Authors

  • พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
  • คุณาวุฒิ วรรณจักร
  • สุดารัตน์ บุญพิทักษ์
  • ธัญรัตน์ เทียนสุข
  • แอ๊ดดี้ มีรัตน์

Keywords:

คอยื่นไปด้านหน้า, มุมการยื่นคอมาด้านหน้า, สมาร์ทโฟน

Abstract

          ท่าทางในการใช้สมาร์ทโฟนเป็นท่าที่ต้องก้มคอเพื่อจ้องมองหน้าจอ ทำให้คอมีลักษณะยื่นไปด้านหน้า ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอทำงานมากขึ้นเพื่อให้ศีรษะตั้งตรงกลับสู่แนวเดิมได้ การอยู่ในท่าทางคอยื่นเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดแรงเครียดที่กระทำต่อกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณคอและนำไปสู่การเกิดการบาดเจ็บและอาการปวดคอได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของมุมการยื่นคอมาด้านหน้าในกลุ่มคนสุขภาพดีที่ใช้แท่นวางแขนและไม่ใช้แท่นวางแขนเล่นสมาร์ทโฟน อาสาสมัครทั้งหมดจะได้รับการตรวจประเมินเบื้องต้นตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จากนั้นได้รับการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม คือ ผู้ที่มีสุขภาพดีที่ใช้แท่นวางแขนขณะเล่นสมาร์ทโฟนจำนวน 6 คน และผู้ที่มีสุขภาพดีที่ไม่ใช้แท่นวางแขนขณะเล่นสมาร์ทโฟนจำนวน 6 คน อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินมุมการยื่นคอไปด้านหน้าโดยใช้ 3-point marker detection program ผลการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มของค่ามุมคอยื่นไปด้านหน้าในกลุ่มคนสุขภาพดีที่ไม่ใช้แท่นวางแขนและใช้แท่นวางแขน หลังจากใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลา 30 นาที (p=0.01และ p=0.02) ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา พบว่าค่ามุมคอยื่นไปด้านหน้าในกลุ่มคนสุขภาพดีที่ไม่ใช้แท่นวางแขนมีมุมคอยื่นไปด้านหน้ามากกว่ากลุ่มคนสุขภาพดีที่ใช้แท่นวางแขนเล่นสมาร์ทโฟน ดังนั้นการใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานควรมีที่รองรับท่อนแขนเพื่อลดการก้มคอและป้องกันการปวดกล้ามเนื้อคอที่อาจจะเกิดตามมา           Most common posture of using a smartphone is Forward head posture (FHP). It leads to increase neck muscles activity for head holding in neutral position. Maintaining in FHP can induced an increasing compressive load of the cervical spine, the cervical extensor muscles activities and ligaments damaging at the neck, that can leads to pain at the cervical. The aim of this study is to compare the differences in Forward head angle between the healthy subject with forearm support and no forearm support during smartphone using. At screening, participants were randomized into two groups to receive either a forearm support group (n=6) and a no forearm support group (n=6). They performed a standardised texting task on a smartphone. The forward head posture was measured by using the 3-point marker detection program. Results found that, there was a significant difference in the CV and CH angles within and between groups using a smartphone for 30 minutes (p = 0.01, 0.02 respectively). In conclusion, CV and CH angles worsened with smartphone use in non-forearm support group than forearm support group. Correcting posture and forearm support will be recommended to prevent forward head posture and neck pain.

Downloads