พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
Keywords:
รูปแบบการดูแล, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ประชากร คือ ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี 5,797 คน บุคคล ในครอบครัวอย่างน้อย 1 คน จาก 10,253 ครัวเรือน ผู้นำชุมชนจาก 26 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 60 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว 40 คน ตัวแทนชุมชน 20 คน รวม 120 คน ขั้นตอนวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหาปัญหา 2) วางแผนแก้ปัญหา 3) ลงมือปฏิบัติ 4) สะท้อนผลและประเมินผล เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า วิธีค้นหาความ ต้องการการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และการสนับสนุนของครอบครัวและชุมชน การวางแผนแก้ปัญหาควรใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมระหว่างผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน ควรลงมือปฏิบัติตามบทบาทตนเอง ดังนี้ บทบาทผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรับประทานยา 2) ด้านรับประทานอาหาร 3) ด้านออกกำลังกาย 4) ด้านจัดการความเครียดบทบาทผู้ดูแลและชุมชน ได้แก่ 1) ความรู้โรคเบาหวานและการดูแล 2) ทักษะปฏิบัติการดูแล 3) ทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุและต่อตนเอง บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ 1) ติดตามและประเมินผล 2) สะท้อนผลลัพธ์ 3) สนับสนุนให้คำปรึกษาต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล โดยมีผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55, SD = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ใช้รูปแบบมีความพึงพอใจด้านความสามารถนำไปใช้ของรูปแบบ มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.69, SD = 0.63) รองลงมาคือ ด้านความครบถ้วนของรูปแบบและความเหมาะสมเป็นไปได้ในการใช้งาน (ค่าเฉลี่ย = 4.55, SD = 0.70, ค่าเฉลี่ย = 4.55, SD = 0.75) The purpose of this research was to develop a model for family and community participatory health care in elderly with Diabetes Mellitus in Saensuk Municipality, Chon Buri, Thailand. The 120 samples were selected from the population of 5,797 older people, the total care givers in the family of 10,253 households, and the community leaders from 26 communities in Saensuk Municipality. There were 60 elders, 40 care givers, and 20 community leaders. The participatory action research was conducted in four stages: 1) Identification needs or seeking problems 2) planning solutions 3) practice 4) reflect the performance and evaluation. Collecting data by using in-depth interviews, focus group, participatory observation and questionnaire. Data were analyzed by using content analysis and descriptive statistics. This study showed that an important component of the development model consists of how to find care needs of diabetic elderly includes the assessment of the health status and self-care assessment of the elderly and the support of families and communities. Problem-solving planning should use the planning process to find solutions to common problems between older people, families and communities. The role of the elderly with diabetes consisted of four main areas of knowledge and self-care behaviors: 1) medication; 2) eating; 3) exercise; and 4) Stress management. The roles of caregivers and community included: 1) knowledge about diabetes and care; 2) skills to care for the elderly with diabetes; 3) good attitudes toward caring for the elderly with diabetes and good attitudes toward themselves. The roles of medical and public health professional were: 1) monitoring and evaluation; 2) reflection of the results; 3) support, counseling, and advice to the elderly and caregivers. The effect of using the elderly with diabetes care model found that the overall user’s satisfaction was on the most satisfied (average = 4.55, SD = 0.64). When considering on each aspects, it was revealed that the users were satisfied with the applicability of the model at the highest level (average = 4.69, SD = 0.63). Secondly was the completeness of the model, suitability and possible to use (average = 4.55, SD = 0.70 and average = 4.55, SD = 0.75, respectively).Downloads
Issue
Section
Articles