การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Keywords:
โรงเรียน, การสุขาภิบาล, การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมAbstract
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยทำ การศึกษาในโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วม จำนวน 32 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ผลการศึกษา ด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์คือ ห้องนํ้า ห้องส้วมไม่มีสบู่ล้างมือ ไม่มีถังขยะที่มีฝาปิด ด้านนํ้าดื่มนํ้าใช้ ร้อยละ 65.60 ไม่ผ่านเกณฑ์ คือไม่มีภาชนะนํ้าดื่มประจำตัว ด้านการบำบัดนํ้าเสีย พบว่าไม่มีบ่อดักไขมัน ร้อยละ 78.10 ด้านการสุขาภิบาลอาหารด้านกายภาพ พบข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด ได้แก่ การวางช้อน ส้อม ตะเกียบ โดยไม่ได้วางตั้งเอาด้ามขึ้น และไม่มีตู้สำหรับปกปิดอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เขียงมีสภาพแตกร้าว ไม่มีการแยกใช้เขียงเฉพาะอาหารสุกและอาหารดิบแยกจากกัน ส่วนผลการประเมินสุขาภิบาลอาหารด้านชีวภาพ เฉพาะโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์ด้านกายภาพทุกข้อ จำนวน 10 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 70.00 ด้านการตรวจคุณภาพนํ้าดื่มทางชีวภาพ จำนวน 32 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 40.63 ดังนั้นโรงเรียนเน้นยํ้าเกี่ยวกับการคุณภาพนํ้าดื่ม การสุขาภิบาลอาหาร และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม This survey research aimed to evaluate the environmental sanitation in schools. Samples of the study were 32 schools willing to participate in this survey. Research tools comprised evaluation checklists and laboratory tests. Data were analyzed using descriptive statistics composed of frequencies and percentages. The result showed that the majority of the schools (96.90%) did not meet acceptable standard of environmental sanitation, for example there were no soaps for hand-washing and no trash receptacles with lids in the toilets. We found 65.60% of the schools did not meet acceptable standard of environmental sanitation because they lacked of own water containers, 78.10% of the schools lacked grease trap. Besides, food sanitation did not meet acceptable standard particularly placing of spoons, forks and chopsticks by with handle up and there were no cabinet for storing cooked food at a height of 60 cm. above the floor. The chopping board was cracked and did not have a cover. There was no separation of chopping board for raw and cooked food. The results of the evaluation for biological aspect of food sanitation among the schools which met acceptable standard on physical criteria showed that 7 out of 10 samples had coliform bacteria contamination (70%). The drinking water testing showed that 13 out of 32 samples had coliform bacteria contamination (40.63%). Therefore, the schools should be concerned about drinking water quality, food sanitation and environmental sanitation.Downloads
Issue
Section
Articles