รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท

Authors

  • วิสาขา ภู่จินดา
  • ยลดา พงค์สุภา

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การจัดการสิ่งแวดล้อม, ชุมชนชนบท

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบทที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท และเพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท มีกลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องโดยการคัดเลือกชุมชน ที่ใช้เป็นกรณีศึกษาด้วยกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) ให้เกิดเป็นชุมชนต้นแบบ ประกอบไปด้วย พื้นที่การสำรวจทั้งหมด 4 ภาค ได้แก่ 1) ภาคกลางและภาคตะวันออก คือ จังหวัดสุพรรณบุรี และอ่างทอง 2) ภาคเหนือ คือ จังหวัดตาก และเชียงใหม่ 3) ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ คือ จังหวัดชัยภูมิและขอนแก่น และ 4) ภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา และพัทลุง รวมทั้งองค์การ บริหารส่วนตำบล เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและความเหมาะสมของการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท          ผลการศึกษาพบว่า แต่ละพื้นที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ โครงการรณรงค์การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นต้น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมผู้สูงอายุนั้น เกิดจากความร่วมมือ ความสามัคคีในทุกภาคส่วน รวมทั้งการสร้างภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมการจัดทำรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบทมี 4 ด้าน ได้แก่ การจัดการพลังงานในครัวเรือน การจัดการนํ้าในครัวเรือน การจัดการขยะในครัวเรือน และภูมิปัญญาชาวบ้านกับเกษตรอินทรีย์           This study aimed to investigate environmental problems affecting to elderly in rural communities, and to propose and apply a model for environmental management by the elderly in rural communities. This study was a participatory action research conducted in the rural communities in four regions of Thailand; 1) Suphan Buri and Ang Thong provinces in the central region, 2) Tak and Chiang Mai provinces in the northern region, 3) Chaiyaphum and Khon Kaen provinces in the northeastern region and 4) Song Khla and Phatthalung provinces in the southern region. Representatives of Local Administrative Organizations and the elderly were the key informants. The study results revealed that each area had environmental management strategies, project and activities, for example, waste bank setup, community waste management campaign. Factors affecting waste management for the elderly included participation, cooperation, and engagement of the stakeholders and strengthening of networking. The model for environmental management for the elderly included four aspects; energy management in household, water management, waste management, and local wisdom for organic agriculture.

Downloads