การบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทางการแพทย์และสาธารณสุข ในเขตเทศบาลตำบล เขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

Authors

  • สรายุทธ เสงี่ยม
  • อนุวัฒน์ วิใจเงิน

Keywords:

การให้บริการทางการแพทย์, สาธารณสุข, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, The services of medical care, Public health, Quality, Elders

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข ระดับคุณภาพชีวิตและการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รวมทั้งดำเนินการพัฒนาและวิเคราะห์ผลลัพธ์โครงการบ้านต้นแบบผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ และโครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบครบวงจร กลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 355 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน และ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องโดยตรง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพจะนำมาเสริมข้อมูลเชิงปริมาณและเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาวิธีแก้ไขปัญหา และคิดค้นโครงการเพื่อผู้สูงอายุต่อไป          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. อิทธิพลของปัจจัยการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่บุคลากร ผู้ให้บริการ และด้านช่องทางการให้ บริการสูงขึ้นทำให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสูงขึ้น          2. การดำเนินโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ สามารถสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านเสมือนอยู่โรงพยาบาล และสามารถให้บริการช่วยเหลืออัตโนมัติผ่านทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยได้ครบทุกหลังคาเรือน          3. การดำเนินโครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบครบวงจรก่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ โรงเรียนปัจฉิมวัยวิทยา ห้องนิทรรศการ และห้องกิจกรรมอิสระสำหรับผู้สูงอายุ           The purposes of this research were to study the quality on medical care and public health service, provided to elderly people affecting their life’s quality in the sub district of Khao-phra-nham in Lopburi province. This research also covered the improvement and analysis on the results of the prototype housing project (help and support chronic illness people and elders), and the project of the full-service center for developing quality of life of elders. The quantitative and qualitative groups were comprised of 355 elderly people and 20 elderly people, respectively. Also, the related people, who involved in this project were around 20 people. The tools using for this research were questionnaires, interview questions, and focus group that utilized the frequency, percentage, average and multiple regression analysis. The quality analysis was used to support the quantitative analysis for problem solving, seeking the solution and creating new project for elders.          The results of this research were concluded as below;          1. The influence factors on the medical care and public health service were classified into 4 factors, consisting of facilities, service process, service officer and service opportunities to improve the life quality of elders.          2. The implementation of the “prototype housing” health project for chronic illness people and elderly people, that could create the networking service, promote the contribution of local society and between their elder relatives. The patients received health care at home as if they were in hospitals. Also, the service could be accessed automatically via calling for every household of patients.          3. The implementation of the full-service development center for elders led to the establishment of “Patchimwai-Wittaya” school, exhibition room, and activity room for elders.

Downloads