การพัฒนาชุดกิจกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

Authors

  • สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล
  • นภาวรรณ หนองใหญ่
  • ณัฏฐณิชา ชันแสง
  • ธันยา พิพัฒนานุกูล
  • ปลายฟ้า พรพงษ์วัฒนา
  • พรพิมล ครุผาด
  • สิริขวัญ วิทยานุกรณ์

Keywords:

ชุดกิจกรรม, การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, ชุดป้องกันการตั้งครรภ์

Abstract

          การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยผู้วิจัยสร้างชุดกิจกรรมตามกรอบทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน และนำไปใช้สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อนำไปปรับชุดกิจกรรม จากนั้นนำชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแล้ว ไปจัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 40 คน และประเมินชุดกิจกรรม โดยสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีการปรับแก้ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมของกิจกรรมแลกนํ้าคือเพิ่มกิจกรรมชะลอดีกว่าไหม ปรับรายละเอียดของกิจกรรมด้านการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างคือกิจกรรมใจเขาใจเราสมมติว่าหากตนท้องหรือทำผู้หญิงท้อง คนรอบข้างจะรู้สึกอย่างไร และแบ่งกลุ่มสวมบทบาทของคนรอบข้าง เพิ่มเวลาในการใส่ชุดคลุมท้อง และด้านการรับรู้หรือเชื่อว่าตนสามารถควบคุมตนเองได้ในกิจกรรมโน้ตแห่งความมุ่งมั่น และการประเมินชุดกิจกรรมด้วยการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างสะท้อนผลว่าเกิดทัศนคติที่ดี คำนึงถึงคนรอบข้าง รับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง และความตั้งใจ ที่จะไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำชุดกิจกรรมไปใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร           This mixed method of qualitative and quantitative research was aimed to develop a series of activities to prevent premature pregnancy by adapting theory of planned behavior. Five key informants (experts) were in-depth interviewed to examine a series of activities held for target group. Content analysis was performed to verify in-depth interview. Forty students aged between 15-19 years old were included in the study. Focus group (ten samples) was adopted from this group for evaluating a serires of activities. Results showed that this series of activities should be adjusted according to experts’ opinions. “Laek Nam” (Water exchange) program was modified in the aspect of attitude by adding “Chalor Di Kwa Mai?” (Slow down a bit?) program. Role play was added in “Chai Khao Chai Rao” (Put yourself in someone else’s shoes) program. A scenario of unwanted pregnancy was set for participants to evaluate their feelings both as pregnant women and as surrounding people. Time for dressing up in maternity clothes was also extended. Finally, “Note Haeng Khwam Mungman” (Note of Earnestness) program was modified in the aspect of perceived behavioral control. Regarding the evaluation from focus group, they stated that this series of activities provided them with a good attitude, careful consideration, thought of their peers and family, and perception towards self-control and intention not to be prematurely pregnant. Involving organizations can adopt this series of activities in order to prevent premature pregnancy.

Downloads