สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย
Keywords:
สุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, เขตเมือง, เขตชนบท, elderlyAbstract
การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สุขภาวะของผู้สูงอายุและปัจจัยทำนายสุขภาวะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชนบทของไทย ประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยภายใน 15 ตัวแปรและปัจจัยภายนอก 3 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นผู้สูงอายุในเขตเมืองจำนวน 1,347 คน และผู้สูงอายุในเขตชนบท จำนวน 871 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple regression ผลการวิเคราะห์สุขภาวะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบท พบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทมีสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตวิญญาณ และสุขภาวะโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุในเขตเมืองมีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางกาย สังคม และจิตวิญญาณสูงกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท แต่มีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตตํ่ากว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท มีปัจจัย 5 ปัจจัยที่สามารถทำนายสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเมือง โดยตัวแปรทำนายที่ดีที่สุดคือการยอมรับนับถือตนเอง ตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ บุคคลร่วมอาศัย ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับชุมชน และสถานภาพสมรส โดยสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะผู้สูงอายุได้ร้อยละ 32.40 (R2 = 0.324, R2 adj = 0.317) และมีปัจจัย 5 ปัจจัยที่สามารถทำนายสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชนบทคือ โดยตัวแปรทำนายที่ดีที่สุด คือการยอมรับนับถือตนเอง ตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ ลักษณะครอบครัว การมีส่วนร่วมกับชุมชน และสภาพทางร่างกายตามการรับรู้ของตนเอง โดยสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 22.80 (R2 = 0.228, R2 adj = 0.219) จากผลการวิจัยที่พบว่าการยอมรับนับถือตนเองเป็นตัวแปร ที่ดีที่สุดในการทำนายสุขภาวะผู้สูงอายุทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัยนี้แก่หน่วยงานด้านสุขภาพคือ ควรสนับสนุนให้ครอบครัว ผู้ดูแลผู้ป่วยและชุมชนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้สูงอายุให้เกิดการยอมรับนับถือตนเองเพื่อส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีสืบไป This predictive research was designed to analyze the well-being of the elderly and the predictive factors to determine the well-being of the elderly living in the urban and rural areas of Thailand. It consisted of variables within 15 internal factor variables and 3 external factor variables. Samples were collected from a multistage random sampling technique, including 1,347 urban elderly and 871 rural elderly. Data were collected by questionnaire. An analysis of the elderly well-being living in urban and rural areas found that the elderly in urban and rural areas were statistically differences in physical, mental, social, and spiritual well-being, and in overall well-being at the .05 level of significant. Elderly in urban areas had higher average mean score of physical, social and spiritual well-being than those in rural areas. However, the average mean score of mental well-being was lower than the rural elderly. There were five factors that can predict the elderly well-being living in urban areas. The best predictor variable was self-esteem, others variables were family members, environmental safety, community involvement, and marital status that could explain the elderly well-being at 32.40% (R2 = 0.324, R2 adj =0.317). There were five factors that could predict the elderly well-being living in the rural areas. The best predictor variable was self- esteem, others variables were health behavior, family style, community involvement, and physical conditions according to their perception that could explain the elderly well-being at (R2 = 0.228, R2 adj = 0.219). It can be seen that self-esteem was the best predicting variable affected the elderly well-being in both urban and rural areas. Policy recommendations from this research to the health sectors are provide support to the family member; family and community caregivers focusing on encourage the elderly to get self-esteem for their well- being.Downloads
Issue
Section
Articles